ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุค : กรณีศึกษาตลาด เกาะกลอย อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Main Article Content

Quandee Sripairoj
La-iard Silanoi

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยว ตลาดเกาะกลอย อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและใช้กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวจำนวน 384 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือจำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยได้แก่สถิติค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One-way ANOVA) ซึ่งกรณีที่ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแล้วพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffeˊ Method) ผลการวิจยั พบว่านักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-39 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา มีสถานภาพสมรส อาชีพพนักงานลูกจ้างบริษัทรายได้ระหว่าง 10,000-19,000 บาท ชอบท่องเที่ยวในวันหยุดและมีที่พักอาศัย ปัจจุบันในจังหวัดระยองนักท่องเที่ยวให้ความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านที่มากที่สุดคือด้านช่องทางการจัดจำหน่ายด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านราคา ด้านองค์ประกอบทางกายภาพและด้านสินค้า และบริการ ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดนักท่องเที่ยวให้ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมุติฐานข้อที่ 1 พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอายุ สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ แตกต่างกันมีความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนนักท่องเที่ยวที่เพศ ระดับ การศึกษา ช่วงเวลาเดินทางท่องเที่ยว และภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
Sripairoj, Q., & Silanoi, L.- iard. (2015). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุค : กรณีศึกษาตลาด เกาะกลอย อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 16(30), 3–14. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/58378
บท
Research Article

References

[1] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). แนวคิดการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. จุลสารท่องเที่ยว. 52(3), 5.

[2] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง. (2557). ข้อมูลจังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม2557, จาก http://www.thai.tourismthailand.org.

[3] จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2540). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการในเอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาบริการ (เล่มที่ 1) หน่วย 1-7. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

[4] ตลาดน้ำเกาะกลอย Fanpage. (2557). การท่องเที่ยวและการเดินทางตลาดเกาะกลอย. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2557, จาก http://www.facebook.com/taladkokloi.

[5] จุรีรัตน์ เกตุแก้ว. (2556)1. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวที่ตลาดน้ำหัวหิน. เอกสารงานวิจัยการค้นคว้าส่วนบุคคล หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[6] ชลลดา มงคลวนิช และคณะ. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 8(2), 75-90.

[7] บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ. จามจุรีโปรดักท์.

[8] รัชนีย์ พัฒนะราช. (2552). แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[9] ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท๊กซ์.

[10] สำนักงานตลาดเกาะกลอย. (2557). ข้อมูลทั่วไปของตลาดเกาะกลอย. ระยอง.

[11] อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[12] Kotler, P. (2003). Marketing Management. 10th ed, New Jersey: Prentice-Hall.

[13] Weiers, M. R. (2005). Introduction to Business Statistics. (5th ed.). Pennsylvania: Thomson-Brooks/cole.

[14] World Tourism Organization. (1998). Guide for Local Authorities on Developing Sustainable Tourism. Madrid: n.p.