สุนทรียะในประเพณีการแต่งงาน : การวิพากษ์แบบโพสต์โมเดิร์น

Main Article Content

อารีวรรณ หัสดิน

Abstract

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอมุมมองใหม่ของการรับรู้เรื่องสุนทรียะในประเพณีการแต่งงาน ภายใต้
ภาวะสังคมที่เรียกว่าหลังสมัยใหม่ ที่กระบวนการรับรู้ และการให้ความหมายของคนในปัจจุบันที่มี
ต่อประเพณีการแต่งงานมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการรื้อสร้างความหมาย และการประกอบสร้างความ
หมายใหม่ ต่อมุมมองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการแต่งงาน ที่ได้ก้าวข้ามความคิดเรื่องสุนทรี
ยะตามมาตรฐานแบบดั้งเดิม มาสู่สุนทรียะแบบหลังสมัยใหม่ ที่เน้นการสร้างสุนทรียะที่ตอบสนอง
ความพึงพอใจในระดับปัจเจกมากขึ้น
การรับรู้สุนทรียะในประเพณีการแต่งงานแบบหลังสมัยใหม่ นำเสนอมุมมองที่มีการปรับเปลี่ยน
และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของประเพณีการแต่งงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. การเปลี่ยนแปลงสุนทรียะในส่วนที่เป็นเปลือกของประเพณี ได้แก่ (1) การรับรู้เรื่องเส้นแบ่ง
ระหว่างความเป็นคู่ตรงข้ามเลือนลางลง เช่น ถูก – ผิด เหมาะสม – ไม่เหมาะสม ส่วนตัว – สาธารณะ
ศิลปะ – อนาจาร (2) การรื้อสร้างความเชื่อของรูปแบบในองค์ประกอบในประเพณีการแต่งงาน ตั้งแต่
การปรับเปลี่ยนเรื่องเวลา การเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดพิธีแต่งงาน การเปลี่ยนแปลงเรื่องสีในประเพณีการ
แต่งงาน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบชุดแต่งงาน และการสร้างรูปแบบของงานที่โดดเด่น ไม่ซ้ำใคร
2. การเปลี่ยนแปลงสุนทรียะในส่วนที่เป็นแก่นของประเพณี เป็นการรื้อสร้างความหมายเดิมและ
นิยามความหมายใหม่ ตั้งแต่การนิยามความหมายใหม่ของประเพณีการแต่งงาน การนิยามเรื่องเพศ อายุ
กับการแต่งงาน บทบาทหน้าที่ระหว่างหญิงชาย เป็นต้น
คำสำคัญ : สุนทรียะ ประเพณีการแต่งงาน โพสต์โมเดิร์น

Article Details

How to Cite
หัสดิน อ. (2015). สุนทรียะในประเพณีการแต่งงาน : การวิพากษ์แบบโพสต์โมเดิร์น. Journal of Cultural Approach, 16(29), 60–72. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/35497
Section
Academic Article