อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มี ต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์ และคณะ

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของ
นักศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้า
องค์ประกอบ ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (EK) และพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (EB)
และ (3) ศึกษาอิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่มีต่อ EB เมื่อมี EK เป็นตัวแปรส่งผ่าน ตัวอย่างใน
การวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี 547คน โดยใช้วิธีเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็น
แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ คือ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแตกต่าง
ของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ การวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น และการวิเคราะห์การ
ส่งผ่าน ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า (1) นักศึกษาที่มีเพศและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนแตกต่างกันมี EB แตก
ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่นักศึกษาที่ชั้นปี และคณะวิชาต่างกันมี EBไม่แตกต่างกัน (2) บุคลิกภาพห้าองค์
ประกอบทั้งห้าด้านมีความสัมพันธ์กับ EB และพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง EB กับ EK อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ ส่วนบุคลิกภาพด้านความไม่มั่นคงทางอารมณ์( N) และด้านการแสดงตัว (E) เท่านั้นที่มี
ความสัมพันธ์กับ EK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบมีอิทธิพลต่อ EB อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ ในขณะที่อิทธิพลของ N ต่อ EB เมื่อมี EK เป็นตัวแปรส่งผ่าน เป็นการส่งผ่านแบบสมบูรณ์
และ E เป็นการส่งผ่านบางส่วน แต่บุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์ (O) ด้านความเป็นมิตร (A)
และด้านการมีจิตสำนึก (C) ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อ EB เมื่อมี EK เป็นตัวแปรส่งผ่าน
คำสำคัญ : บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ พฤติกรรมนักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ความรู้เรื่องการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
ทรัพย์พระวงศ์ และคณะ ก. (2015). อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มี ต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Cultural Approach, 16(29), 30–44. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/35495
Section
Research Article