อิทธิพลการบนบาน บวงสรวงในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูสิริรัตนานุวัตร วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช

Abstract

บทคัดย่อ
ประเด็นการศึกษาเรื่องนี้คือแนวคิด ความเชื่อเรื่องการบนบาน บวงสรวงกับจริยธรรมเชิงพุทธ
โดยใช้พื้นที่เป้ าหมายคือพระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มาแก้บน จำนวน 40 คน พบว่า ผู้บนบานจะขอให้ได้ลูก
และเรียนเก่ง ขอให้หายป่วย ขอให้ได้ของหายกลับคืน ขอให้ถูกหวยรวยเบอร์ ขอให้มีโชคลาภ ขอให้มี
ฐานะดี ร่ำรวย ขอให้ได้ตำแหน่ง ขอให้ได้เลื่อนยศ เครื่องบนบานจะมีพวงมาลัย ละครรำ หัวหมู ผลไม้ ไข่
ต้ม ดอกไม้ บายศรี ขอเป็นลูกหลวงพ่อพระพุทธชินราช ขอบวชแก้บน ทำดีแก้บน ให้ทานแก้บน เลี้ยง
เพลพระสงฆ์ เลี้ยงอาหารแก่นักเรียน เป็นเจ้าภาพบวชพระแก้บน
พื้นฐานแนวคิดของการบนบานนั้น มีตำนานพัฒนาการมาจากวิถีชีวิตของชาวอินเดียแต่
โบราณกาล ที่มีความเชื่อพิธีบูชายัญ ซึ่งใช้ชีวิตสัตว์เป็ น ๆ ฆ่าเพื่อบูชาเทพเจ้า ต่างจากการบนบาน
บวงสรวงที่ไม่ได้ใช้ชีวิตสัตว์เป็น ๆ เป็นลักษณะทำพลีกรรม คือการสงเคราะห์ เช่น เทวตาพลี คือปฏิบัติ
ตนที่ดีต่อเทวดาในฐานะมีส่วนสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า พิธีกรรมทางศาสนา
เกือบทุกพิธีจะอัญเชิญเทวดาจากทุกสารทิศมาร่วมพิธีเพื่อรับรู้รับฟังและขอให้ช่วยคุ้มภัย ให้โชคลาภแก่
ชีวิตทรัพย์สิน เช่นพิธีทำบุญโดยพระสงฆ์จะกล่าวบทสัคเค กาเม จะรูเป และพิธีบวงสรวงก็เช่นเดียวกัน
เน้นมาที่การบอกกล่าวต่อเทวดาและขอให้เทวดาเห็นชอบ มีกรณีตัวอย่างที่พิธีบนบานต่อเทวดาแล้ว
ได้ผล นั่นคือเศรษฐีสองสามีภรรยาแต่งงานแล้วไม่มีบุตร จึงทำพิธีขอบุตรกับเทวดาประจำต้นไทร ผล
คือได้บุตรชาย นามว่า ธรรมบาลกุมาร ซึ่งเป็นคนฉลาดสามารถพูดภาษานกได้ รับท้าตอบปัญหา 3 ราศี
กับกบิลพรหมแล้วได้ชัยชนะ จึงมีอิทธิพลทำพิธีบนบาน บวงสรวงเพื่อขอบุตร หรือของโชคลาภอื่น ๆ
ในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย

Article Details

How to Cite
วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช พ. (2015). อิทธิพลการบนบาน บวงสรวงในสังคมไทย. Journal of Cultural Approach, 16(29), 19–29. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/35494
Section
Research Article