ความมุ่งมั่นของผู้นำในการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำบารมีและผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.) ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะภาวะผู้นำบารมีต่อผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.) วิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำบารมีกับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่นที่ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้นำที่ได้รับรางวัล “ผู้นำองค์กรเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น” จำนวน 375 คน ที่เป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี พ.ศ. 2554 และผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 50 คน จากผู้นำภาครัฐและผู้นำภาคประชาชนเป็นการให้ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ และค่าสมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะภาวะผู้นำบารมีที่กำหนดในการวิจัย 8 ตัว คือ การมีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็ง ความสามารถทางการบริหาร ทักษะทางสังคมการทำให้สมาชิกรู้สึกมีความสามารถ การมุ่งปฏิบัติให้บรรลุผล แบบอย่างเชิงคุณสมบัติ แบบอย่างเชิงพฤติกรรมและแบบอย่างเชิงจิตใจ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าคุณลักษณะผู้นำบารมี 4 ปัจจัย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็งความสามารถทางการบริหาร การมุ่งปฏิบัติให้บรรลุผล และแบบอย่างเชิงจิตใจ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็งและความสามารถทางการบริหาร มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการมุ่งปฏิบัติให้บรรลุผล และแบบอย่างเชิงจิตใจ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนที่เหลือไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ พบว่า คุณลักษณะหลักของภาวะผู้นำบารมีที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็ง ความสามารถทางการบริหาร การมุ่งปฏิบัติให้บรรลุผล และแบบอย่างทางจิตใจเชิงคุณธรรม ขณะที่คุณลักษณะรองที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ทักษะทางสังคม และแบบอย่างเชิงพฤติกรรม
Article Details
How to Cite
ณ พัทลุง น., & วุฒิเมธี ย. (2012). ความมุ่งมั่นของผู้นำในการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. Journal of Cultural Approach, 13(24), 33–44. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/3453
Section
Research Article
Proposed Creative Commons Copyright Notices
1. Proposed Policy for Journals That Offer Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).
Proposed Policy for Journals That Offer Delayed Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication, with the work [SPECIFY PERIOD OF TIME] after publication simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).