การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ประกาศิต วงศ์อารี
สุชีรา ผ่องใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้สีและลวดลายผ้าเบี่ยงไหมขิด 2) ออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด และ 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าเบี่ยงไหมขิด และด้านการออกแบบลวดลาย จำนวน 5 ท่าน และสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมขิด บ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สีและลวดลาย การใช้สี ประกอบด้วย 11 สี ได้แก่ สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีเขียวจากใบสบู่เลือด สีชมพูจากไม้ฝาง สีเหลืองเข้มจากแก่นเข สีดำจากผลมะเกลือ สีทองจากดอกบัวแดง สีเงินจากก้านดอกบัวแดง สีน้ำตาลจากฝักคูน และสีเหลืองนวลจากผลทับทิม ส่วนลวดลายประกอบด้วย 9 ลาย ได้แก่ ลายกะปูอุ้มดาว ลายแมงงอด ลายหงส์ใหญ่ ลายพันมหา ลายหมากนัด ลายบายศรีอุ้มหน่วย ลายกาบอุ้มดาว ลายดาวจุ้ม และลายหงอนเงือก 2) ออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายขอหลง ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายตะเภาหลงเกาะ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายดอกพิกุล ผู้เชี่ยวชาญเลือกลายขอหลงประเภทที่ 1 ลายตะเภาหลงเกาะประเภทที่ 2 และลายดอกพิกุลประเภทที่ 1 และ 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดบ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สีและลวดลายมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 ด้านการออกแบบมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.85 และด้านผลิตภัณฑ์ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.82 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
วงศ์อารี ป., & ผ่องใส ส. (2025). การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 26(49), 36–49. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/268799
บท
Research Article

References

Bootsane, C., Pornin, T. & Sanchon, P. (2021). Information Management of Sabai Lai Khid of Ban Nonhom, Nonhom Subdistrict, Muang District, Sakon Nakhon Province. Reading Journal, 25(1), 61–73.

Charoenwatanamanichai, Y. (2016). Conservation Method of Mudmee Silk Local Wisdom: Case Study of Ban Khwao, Chaiyaphum Province. Thammasat University.

Duongjun, W. & Saitong, P. (2017). Development of Interactive Media Knowledge Transfer in Fabric: Designs of “Khid”: Local Silk Fabric of Nong–O Sub–district, Nong Wua So District, Udon Thani. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 9(3), 175–189.

Intachod, T. (2018). Study Identification and Development of Student Identities Kasetsart University, Bangkhen. Dhurakij Pundit University.

Office of the Royal Society (ORST). (2007). Identity. http://legacy.orst.go.th/

Phanichphant, V. (2004). Thai Fabrics and Woven Items. O.S. Printing.

Samanchart, S. (2019). Isan Textile Wisdom Heritage. Agricultural Cooperative of Thailand.

Tabtimthong, S., Sornsiri, S. & Nudang, S. (2020). A Study and Product Development Khit Woven Fabric Case Study Khit Pillow Weaving Housewife Group, Ban Khok Charoen, Yasothon Province. RMUTK Journal of Liberal Arts, 2(1), 41–53.