การรับรู้ของสถานประกอบการต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

Main Article Content

ชลลดา มงคลวนิช
กฤป จุระกะนิตย์
ปิยธิดา กังวานสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของสถานประกอบการที่มีต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงแรม บริษัททัวร์ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ


ผลการศึกษาพบว่า สถานประกอบการมีการรับรู้ถึงคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาอยู่ในระดับมาก แต่หากแยกกลุ่มประเภทสถานประกอบการพบว่า สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการบริการมีการรับรู้ต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษามากกว่าสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเรื่องการช่วยลดต้นทุนให้กับสถานประกอบการ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบโครงงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาจากกลุ่มสถาบันการศึกษาต่าง ๆ พบว่า สถานประกอบการมีการรับรู้ต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชนมากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้กับสถานประกอบการได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า ตำแหน่งงานของพนักงานที่ปรึกษาในสถานประกอบการที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ถึงคุณภาพของโครงงานแตกต่างกันกล่าวคือ พนักงานที่ปรึกษาที่มีตำแหน่งพนักงานและหัวหน้างาน รับรู้ถึงคุณภาพของโครงงานสหกิจศึกษามากกว่าพนักงานที่ปรึกษาที่มีตำแหน่งระดับผู้จัดการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
มงคลวนิช ช., จุระกะนิตย์ ก., & กังวานสิทธิ์ ป. (2022). การรับรู้ของสถานประกอบการต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 23(43), 19–33. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/251678
บท
Research Article

References

Cooperative and Work Integrated Education. (2010). Cooperative Education Handbook Siam University. Retrieved from https://bit.ly/3zvpHOE

Cooperative Education and Career Development Center. (2018). Co-operative Education Handbook Sripatum University. Retrieved from https://www.spu.ac.th/uploads/contents/2018042583522.pdf

Economics Tourism and Sports Division. (2020). Tourism Situation in December 2019. Retrieved from https://www.isranews.org/isranews-short-news/84811-tourism.html

Lapi-e, A. (2017). Problems and Guideline to Development on Co-operative Education in Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Science, Thaksin University. Thaksin University Library Journal, 6, 217-247.

Luekitinan, W. & Nontasak, P. & Saosaweang, P. (2015). The Impact of Cooperative Education on period to get Job and Started Income of New Graduates, Burapha University. Suranaree Journal Social Science, 9(2), 105-121.

Mongkhonvanit, C. (2008). Employer Satisfactions towards the Co-operative Education Student Attributes of Thai Higher Education Institutions. Journal of Cultural Approach, 9(16), 69-82.

Office of the Permanent Secretary for Higher Education, Science, Research and Innovation. (2019). A Decade of Thai Cooperative Education Day toward a Sustainable Future. Retrieved from https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/news-all/151-2019-05-27-08-15-49.html

Pansuvannajit, S. & Pansuvannajit, C. (2011). The Study and Solution Girds Line of Cooperative Education Project Administration Division, Faculty of Business Administration and Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Lanna Chiangmai North. Faculty of Business Administration and Liberal Arts, Rajamangala University.

Thai Association for Cooperative Education. (2009). Standards and Quality Assurance for Cooperative Education Operations. Retrieved from http://www.mua.go.th/users/bphe/cooperative/data/kumu_coop54.pdf

Tiamtiporn, K. (2016). PBL : Project Base Learning. Retrieved from https://bit.ly/3BpQDj7