เครื่องรางสัตว์นำโชคที่ปรากฏในนิตยสารไทย : ค่านิยมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน

Main Article Content

ภัทรธรณ์ แสนพินิจ

บทคัดย่อ

บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและจัดหมวดหมู่เครื่องรางสัตว์ที่ปรากฏในนิตยสารไทย และวิเคราะห์ค่านิยมของมนุษย์ที่สะท้อนผ่านชื่อและคุณสมบัติเครื่องรางที่มีความสัมพันธ์กับภาษาที่ใช้ โดยเก็บข้อมูลจากนิตยสารไทย ระยะเวลาสำรวจระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2564 ผลการวิจัยพบว่ามีเครื่องรางสัตว์จำนวน 18 อย่างที่ปรากฏในนิตยสารไทย มีคุณลักษณะเด่นทั้งชื่อและการกำหนดคุณสมบัติตามความสามารถของสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับรสนิยมของคนไทย ในปัจจุบันจะเห็นว่าเครื่องรางสัตว์มีไว้รองรับความต้องการและช่วยสนับสนุนให้คนไทยเกิดค่านิยมประการแรกคือ มุ่งเน้นโชคลาภและทรัพย์สินเป็นอันดับแรก มีอาชีพการงานที่เบาสบายรายได้ดี และได้ทรัพย์สินเงินทองอย่างง่ายดายโดยไม่ลงทุนลงแรง  รองลงมา  ค่านิยมเกี่ยวกับสุขภาพและความงามคือ การเพิ่มเสน่ห์ทางเพศหรือเมตตามหานิยม ตลอดจนมีอายุยืน และปราศจากภัยร้ายทั้งหลาย  และค่านิยมยกย่องอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ มีอำนาจวาสนา และชื่อเสียง เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับในสังคม  ดังนั้นงานวิจัยนี้ย่อมเป็นภาพสะท้อนสังคมไทยปัจจุบันที่คนไทยมีแนวโน้มจะพึ่งพาเครื่องรางมากขึ้นท่ามกลางสังคมวัตถุนิยม และมีค่านิยมความร่ำรวยและความมั่งคั่งทางวัตถุมากกว่าการเข้าหาคำสอนในศาสนาเพื่อความสงบทางใจ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของการเกิดเครื่องรางสัตว์และการบูชาของคนไทยอันสัมพันธ์กับความต้องการและสนับสนุนให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคมไทย


 

Article Details

How to Cite
แสนพินิจ ภ. (2022). เครื่องรางสัตว์นำโชคที่ปรากฏในนิตยสารไทย : ค่านิยมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 23(43), 76–93. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/250551
บท
Research Article

References

Boonsiri, A. (2007). Exposure to Utilization of and Satisfaction with Buddha Amulet Magazines. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat University.

Britannica, T. (2021). Dragon. Retrieved from https://www.britannica.com/topic/dragon-mythological-creature.

Himalai, K. (2011). 108 Prestige Amulets. Bangkok : Commabook.

Jermsawatdi, P. (1987). Evolution of Human-Nature and Natural Phenomenon in Eastern Region of Thailand Beliefs. Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University.

Office of the Royal Society. (2011). Royal Institute Dictionary Thai. Bangkok : Nanmeebooks.

Panaram, O. (2004) Mass Media and the Propagation of Buddhism. Journal of Buddhist Religion Studies Chulalongkorn University, 11(3), 6-65.

Purnngam, P. et al. (2012). The Characteristics of Signifier in Talismans of the Entrepreneurs in Lowland Area of the Upper Ping River. Chophayom Journal, 23, 35-50.

Sanpinit, P. & Tansrisook, S. (2020). Beliefs and Business: Existence and Value of Current Religious Magazines. Humanities, Arts and Social Sciences Studies, 20(3), 676-697.

Sethaputra, P. (2008). Dictionary English-Thai P. Sethaputra of Contemporary. Bangkok : Nanmeebooks.

Sreekullkorn, T., Kongpradit, W., Suneta, W., Chartniyom P. & Sirinkraporn, S. (2017). Spirit, Brahmanism, Buddhism : Cultural Adornment. Silpakorn University Journal, 37(3), 130-142.

Sripasang, W. (2015). Lanna Amulet. RMUTL Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 13-27.

Sujachaya, S. (2013). Cultural Capital and Today’s Sacred Objects. Journal of Letters, 42(2), 75-102.

Sujachaya, S. (2017). The Application of Folklore to Create Sacred Objects in the Present. In Thai Folk Tales in a Changing World. Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

Supart, S. (1991). Thai Society and Culture: Values, Family, Religion, Custom. Bangkok : Thaiwattanapanit.

Tawichai, S. (2014). Prayers to Tai Sui God : Values and Human Needs. Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University, 36(2), 205-228.

Thagong, V. (2007). Factors Effecting the Readers of Occult Magazines. Retrieved from https://digital.lib.ru.ac.th/m/b11392150/WikhanesuanTagong.pdf

Yablon, A. R. (2008). Field Guide to Luck : How to Use and Interpret Charms, Signs, and Superstitions. Quirk Books : First Printing edition.