การอนุรักษ์และฟื้ นฟูภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธ์ุ เลอเวือะ (ละว้า) บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ
โจทย์สำคัญที่มักพูดกันเสมอในแนวคิดของการอนุรักษ์และฟื้ นฟูภาษาและวัฒนธรรมคือจะทำ
อย่างไรให้เกิด “ความยั่งยืน” (Sustainability) บทความนี้พยายามจะเสนอคำตอบให้กับคำถามข้างต้น ซึ่ง
สามารถสรุปในเบื้องต้นนี้ว่าการจะอนุรักษ์และฟื้ นฟูภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนได้นั้นต้องเกิดจาก
กระบวนการคู่ขนานกันระหว่างนักวิชาการจากภายนอกกับคนภายในชุมชน คือต้องเกิดจากคนนอก-
คนใน (Outsider& Insider) โดยการที่นักวิชาการเข้าไปกระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสำคัญ และช่วยพัฒนา
ฐานความรู้ให้เกิดขึ้น โดยอิงหลักทฤษฎีจิตวิทยาว่าการสร้างแรงจูงใจด้านบวกสามารถทำให้คนในชุมชน
เกิดความภูมิใจและความมีศักด์ิศรี (Prestige)ในภาษาและวัฒนธรรมของตน และใช้รูปแบบการวิจัยเพื่อ
ท้องถิ่น (Community based research) และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory
Action Research) ทำให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและหาแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้ นฟูด้วยตนเอง ใน
ขณะเดียวกันสังคมภายนอกเช่นเครือข่ายของนักวิชาการภายนอกหลายๆ หน่วยงานเข้ามาทำงานบูรณา
การความรู้ร่วมกันจึงจะนำไปสู่ความยั่งยืน คือเป็น Outsider + Insider = Sustainability
บทความนี้นำเสนอกรณีตัวอย่างของการดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมเลอเวือะ
(ละว้า) บ้านป่ าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ
และชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าห้าปี ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และเห็นพัฒนาการที่น่า
สนใจหลายประการดังจะกล่าวถึงในบทความนี้


คำสำคัญ : เลอเวือะ(ละว้า) การอนุรักษ์ภาษา การฟื้นฟูภาษา ความยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ถาวรพัฒน์ ด. (2014). การอนุรักษ์และฟื้ นฟูภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธ์ุ เลอเวือะ (ละว้า) บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. Journal of Cultural Approach, 15(28), 59–66. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/24882
Section
Research Article