สำรับอาหารมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

อาจารย์ศรุดา นิติวรการ

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดสำรับอาหารมอญเกาะเกร็ด (2) ศึกษาอาหารในสำรับ
อาหารมอญเกาะเกร็ด โดยทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory ActionResearch:
PAR) ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ.2557 ในชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การรวบรวม
ข้อมูลจากกิจกรรมได้แก่ (1) การสนทนากลุ่ม โดย คณะผู้วิจัยและบุคคลในชุมชนจำนวน 49 คนโดยแบ่ง
เป็น หมู่ 1 จำนวน 20 คน หมู่ 6 จำนวน 14 คน หมู่ 7 จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน สตรีในชุมชน
และผู้สูงอายุในชุมชน (2) การปรุงอาหารและการจัดสำรับอาหาร โดยคณะผู้วิจัยและสตรีในชุมชน
จำนวน 9 คน ผลการศึกษาสำรับอาหารมอญเกาะเกร็ดพบว่าอาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารที่เกิดจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นและมีตามฤดูกาล การจัดสำรับอาหารมอญเกาะเกร็ดโดย
การใช้วิธีสนทนากลุ่ม ได้สำรับดังต่อไปนี้ สำรับอาหารมอญหมู่ 1 ได้แก่ แกงสว่างอารมณ์ แกงส้ม
กระเจี๊ยบ ปลาร้าหลน หมี่กรอบ และข้าวอีกา สำรับอาหารมอญหมู่ 6 ได้แก่ แกงเลียงหน่อกะลา
แกงคั่วมะตาด แกงขาหมูใบมะดัน พริกกะเกลือ และข้าวเหนียวหัวหงอก สำรับอาหารหมู่ 7 ได้แก่
แกงเผ็ดกล้วยดิบ แกงบอน แกงเลียงหน่อกะลา ปลาร้าทรงเครื่อง และขนมเทียนมอญ


คำสำคัญ: อาหารมอญ สำรับ เกาะเกร็ด

Article Details

How to Cite
นิติวรการ อ. (2014). สำรับอาหารมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. Journal of Cultural Approach, 15(28), 39–58. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/24878
Section
Research Article