ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย

Main Article Content

อาจารย์อภิณัทธ์ บุญนาค

Abstract

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ(1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิตที่มีต่อ
การบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มีต่อการบริโภค
อาหารท้องถิ่นภาคใต้ โดยประชากรที่ศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวและบริโภค
อาหารท้องถิ่นภาคใต้ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
ในการเก็บรวบรวมจากตัวอย่างทั้งสิ้น 1,200 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น
แบบพหุ (Multiple Linear Regression Analysis: MRA)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิตมีอิทธิพลในเชิงลบต่อการบริโภคอาหาร
ท้องถิ่นภาคใต้ ในขณะที่ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวกลับมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการบริโภค
อาหารท้องถิ่นภาคใต้ ดังนั้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ต้องเริ่มจากการสร้าง
ความเชื่อมั่นเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิต รวมทั้งการส่งเสริมแรงจูงใจในการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
ควรสนับสนุนปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการท่อง
เที่ยวและการบริโภคอาหารท้องถิ่น สำหรับสมการพยากรณ์ในการประเมินการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาค
ใต้ คือ ŷi = 1.286+0.010x1i+0.0962i +0.0703i +0.0034i +0.0315i +0.0126i +0.0437i+0.0328i +0.0349i
และจากสมการถดถอยที่คำนวณโดยใช้คะแนนมาตรฐานคือ zˆ y = 0.001x1i+0.0832i +0.0643i +0.0034i
+0.0255i +0.0156i +0.0487i+0.0288i +0.0119i


คำสำคัญ : การบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ นักท่องเที่ยวชาวไทย ปัจจัยความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต
แรงจูงใจในการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
บุญนาค อ. (2014). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. Journal of Cultural Approach, 15(28), 3–16. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/24863
Section
Research Article