แนวคิดและแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์นิทานและตัวละครเอกในนิทานวัดเกาะ “เทพสามฤดู”

Main Article Content

ภัทรธรณ์ แสนพินิจ
สมพรนุช ตันศรีสุข

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิทานวัดเกาะเรื่องสามฤดูฉบับ รศ. 108 และเทปละครเทพสามฤดูที่เผยแพร่ล่าสุดจำนวน 69 ตอน เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์นิทานกับตัวละครเอก ผลการศึกษาพบว่ามีแนวคิดหลักตามขนบนิทานไทย และสอดคล้องกับคำสอนพุทธศาสนา ได้แก่ กรรม ความไม่เที่ยง ความทุกข์จากการพลัดพราก เป็นต้น การดำเนินเรื่องมีแบบแผนอย่างนิทานสากลที่มีแก่นเรื่องแนวประโลมโลก ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยเหตุการณ์การเนรเทศพระโอรสยักษ์ราหูออกนอกเมืองทำให้เกิดการพลัดพรากระหว่างแม่และลูกนำไปสู่เรื่องราวการผจญภัยของตัวเอกโดยมีผู้ช่วยเหลือ การแสวงหาคนรักและครองคู่ซึ่งปรากฏแนวคิดเรื่องการสมพาสผิดธรรมชาติ  และการปราบพญามารร้ายตามแนวคิดของธรรมะย่อมชนะอธรรม ส่วนตัวละครเอกเป็นเหล่าเทพเจ้าสามพระองค์ที่ได้รับบัญชาให้มาจุติในร่างมนุษย์เดียวกันและสลับกันปรากฏตัวตามการผันเปลี่ยนของฤดูกาล ได้แก่ พระราหู นางจินดาเมขลา และพระพิรุณ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจหนึ่งจากเทวตำนานและนิทานอธิบายเหตุธรรมชาติโดยมีแนวคิดการอวตารหรือการแบ่งภาค และบุคลาธิษฐานธรรมชาติจากการรวมกลุ่มตัวละครเทพที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติบนท้องฟ้า

Article Details

How to Cite
แสนพินิจ ภ., & ตันศรีสุข ส. (2021). แนวคิดและแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์นิทานและตัวละครเอกในนิทานวัดเกาะ “เทพสามฤดู” . วารสารกระแสวัฒนธรรม, 22(42), 3–18. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/245512
บท
Research Article

References

Aungthonggumnerd, C. (2013). The Avatar in Hinduism. Journal of Humanities, 20(1), 1-22.

Chaowlitprapan, P. (2006). Unnatural Sexual Relations in Thai Tale. Faculty of Arts, Chulalongkorn University.

Chotamra, L. (1969). Stories of Press, to Know to Laugh. Bangkok: Praepittaya.

Debyasuvarn, B. (1972). Transition of Thai Literature. Bangkok: the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbook Project.

Dumsri, W. (1995). Folktale: Phra Rahu. San Nakhon Si Thammarat, 25(11), 89-97.

Griffith, R. (1973). The Hymns of Rig-Veda. Delhi: Motilal Banarsidass.

Intarawut, P. (1977). Hinduism and Iconography. Faculty of Archaeology, Silpakorn University.

King Mongkut, H. M. (1940). Drama: Sakuntala. Bangkok: Business Government of Organization.

King Mongkut, H. M. (1973). God and Things to Know. Bangkok: Dhambunnakan.

MacDonnell, A. A. (1981). Vedic Mythology. Delhi: Ideological Book House.

Na Thalang, S. (2016). Creative Folklore: Dynamics and Application of Folklore in Contemporary Thai Society. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

Nimmanhaemin, P. (2008). Folktales Studies. Faculty of Arts, Chulalongkorn University.

Peerasathien, U. (1986). An Analytical Study of Tale Types and Motifs in Pannasa Jataka. Faculty of Arts, Chulalongkorn University.

Phisphumvidhi, P. (2005). Suriya Sasidhorn. Bangkok: Matichon.

Preyawanit, N. (2013). Deified Nature. NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture, 10(suppl.), 210-233.

Prinoy, S. (2012). Mythology. Bangkok: Yipsee.

Raksamani, K. (2004). Mythological Tales. Bangkok: Maekumpang.

Rungruengsri, U. (1980). Vedic Mythology. Faculty of Humanities, Chiang Mai University.

Sujachaya, S. (2014). Literature of Thai Tale. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Thitathan, S. (1994). In Local, There are Many Stories and Games. Bangkok: Matichon.

Thompson, S. (1997). Folklore. London: University of California Press.

Tong, S. (2010). Siam Deva. Bangkok: Matichon.

Wattanamahat, K. (2003). Rattana Deveepakorn. Bangkok: Institute of Creative Books.

Yuyen, N. (2003). The Analysis of the Koh temple's principal female characters. Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University, 25(2), 65-107.