แนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม: น้ำพริกแห่งอุษาคเนย์

Main Article Content

สิริน ฉกามานนท์
หทัยรัตน์ ทับพร
อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ 2) วิเคราะห์การสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม และ 3) นำเสนอแนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม มีขอบเขตการวิจัยคือ ศึกษาน้ำพริกที่ใช้เป็นเครื่องจิ้ม ได้แก่ น้ำพริกกะปิและน้ำพริกปลาร้าในกรุงเทพและปริมณฑล ประเทศไทย แจ่วบองในหลวงพระบาง ประเทศลาว และตึกเกรืองในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นกรณีศึกษา มีวิธีดำเนินการวิจัย คือ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมอาหารโดยเฉพาะน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ และการวิจัยภาคสนามในพื้นที่กรณีศึกษา ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มได้แก่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เกี่ยวกับน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ ในไทยจำนวน 15 คน ลาวจำนวน 15 คน กัมพูชาจำนวน 30 คน รวม 60 คน และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาเสนอแนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์แบ่งเป็น 5ประเด็นได้แก่ (1) ด้านประวัติศาสตร์สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นรากเหง้าที่ผสานเราชาวอุษาคเนย์ไว้ด้วยกัน (2) ด้านสุนทรียศาสตร์สะท้อนอัตลักษณ์ความงามที่เรียบง่ายแต่ลุ่มลึก (3) ด้านจริยศาสตร์สะท้อนอัตลักษณ์ความรักความอบอุ่นในแบบฉบับของชาวอุษาคเนย์ (4) ด้านภูมิปัญญาสะท้อนอัตลักษณ์การดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และ (5) ด้านวิถีชีวิตสะท้อนอัตลักษณ์วิถีแห่งอุษาคเนย์


2) การสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ในอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า เป็นการสืบสานผ่านรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ ได้แก่ วิทยาลัยวิชาชีพและมหาวิทยาลัย การศึกษานอกระบบ ได้แก่ ร้านอาหารและโรงเรียนสอนทำอาหาร และการศึกษาตามอัธยาศัยได้แก่ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยตรงในครัวเรือน ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวและชุมชน


 3) แนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ควรส่งเสริมการสืบสานผ่านรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตโดยมีสถาบันครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้จากรุ่นสู่รุ่น

Article Details

How to Cite
ฉกามานนท์ ส., ทับพร ห., & เรืองรอง อ. (2022). แนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม: น้ำพริกแห่งอุษาคเนย์. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 23(43), 34–45. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/241993
บท
Research Article

References

ASEAN Secretariat. (2016). ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint 2025. N.P. : Jakarta.

Department of Academic. (2015). Food and Food Culture in ASEAN. Bangkok : Sataporn Book.

Department of Cultural Promotion. (2016). Culture, Way of Life, and Wisdom. Bangkok : Rungsilp Printing.

Department of Public Relations. (2018). ASEAN News and Information, Guidelines of ASEAN Identity for ASEAN Socio–Cultural Community. Retrieved from http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=4502&filename=index

Kongpun, S. (2018). Food Lists of National Intangible Cultural Heritage. Bangkok : Thai Health Promotion Foundation.

La Loubère, S. (2005). Du Royaume de Siam. Nonthaburi : Srithanya.

Lakkham, S. et al. (2014). Survey Report on Intangible Cultural Heritage : Namprik (Part 1). Retrieved from https://drive.google.com/file/d/0Bwl1NSseUsxYMzUwOTE4bjA1d00/view

Lea–lamai, K. (2017). Oshagale. Bangkok : Way of Book.

Ministry of Education. (2015). ASEAN Education Strategy. Bangkok : Amarin Printing and Publishing.

Mitrsuriya, R. (2014). ASEAN History of Southeast Asia. Bangkok : Gypsy.

Paramanusit, N. (2013). Osha–Asian. Bangkok : Matichon.

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (2017). Heritage of the Nations : Lesson Learned from the Neighboring Countries. Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

Ramitanon, C. & Vechanont, S. (2008). Namprik Boiled Vegetable, and ASEAN Food. In Kasetsiri, C. (Ed.), Seminar Document Salween River-Mekong : People, River, and ASEAN Suvarnabhumi. Bangkok : the Social Sciences and Humanities Textbooks Foundation.

Royal Institute. (2013). The Royal Institute Dictionary 2011. Bangkok : Royal Society of Thailand.

Wongthai, N. (2016). The Study of Chilipastes in 4 Regions in Thailand : the Reflection of Thai Way Living and Culture. Journal of Humanities and Social Sciences, 8(16), 88–100.

Wongthes, S. (2016). Common Cultural in ASEAN. Bangkok : Natahak.