ความพึงพอใจและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้า
มาเที่ยวพักผ่อนที่ชาดหาดชะอำ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
(3) รวบรวมข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปรับปรุง (4) จัดทำข้อเสนอ
แนะเพื่อการพัฒนาชายหาดชะอำ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งหมด 420 คน
ที่เข้ามาเที่ยวพักผ่อนที่ชาดหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน พ.ศ. 2556
เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์และนำเสนอ
ด้วยค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่ม ด้วยการทดสอบแบบ independent t-test ตัวแปรที่ศึกษา คือ ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยการท่องเที่ยว
ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ามาท่องเที่ยวที่ชายหาดชะอำ 10 ตัวแปร
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติพึงพอใจในแต่ละตัวแปรที่ศึกษา 10 ตัวแปร และรวมเฉลี่ย 10
ตัวแปร ในระดับพึงพอใจมาก นักท่องเที่ยวชาวไทยพึงพอใจในตัวแปรที่ศึกษา 2 ลำดับแรก คือ การคมนาคมและ
ตัวแปรอื่นๆ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติพึงพอใจในตัวแปรที่ศึกษา 2 ลำดับแรก คือ การคมนาคมและที่พัก
2. นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจแตกต่างจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < 0.05) 3 ตัวแปร คือ ทะเลและชายหาด การคมนาคม และตัวแปรอื่นๆ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในฤดู
ท่องเที่ยว (High Season) และนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p < 0.05) 2 ตัวแปร คือ ทะเลและชายหาด และสถานที่และสิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยวเพศชายและนัก
กระแสวัฒนธรรม ๒๙
ท่องเที่ยวเพศหญิงมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในทุกตัวแปรที่ศึกษาและ
รวมเฉลี่ยทั้ง 10 ตัวแปร
3. จากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวเสนอแนะว่าเรื่องที่ควรปรับปรุง คือ สถานที่จอดรถและการจัดระเบียบ
การจอดรถ การปรับภูมิทัศน์ การขยายถนนสำหรับคนเดินและการจัดระเบียบการจราจร ราคาอาหารที่ไม่แพง
เกินไป รถบริการสาธารณะ ความสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและคนชรา ศูนย์บริการนักท่อง
เที่ยว
4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาชายหาดชะอำ คือ การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอเพื่ออำนวยความ
สะดวก ผู้กำหนดนโยบายหรือผู้บริหารระดับสูงควรเข้าร่วมประชุมและรับฟังปัญหาและความต้องการของ
ชุมชนที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว และช่วยผลักดันให้นโยบายและความต้องการสำเร็จ หาจุดเด่นและหาเอกลักษณ์
ของสถานที่ท่องเที่ยว จัดการท่องเที่ยวและบริการที่มีมาตรฐาน
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้า
มาเที่ยวพักผ่อนที่ชาดหาดชะอำ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
(3) รวบรวมข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปรับปรุง (4) จัดทำข้อเสนอ
แนะเพื่อการพัฒนาชายหาดชะอำ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งหมด 420 คน
ที่เข้ามาเที่ยวพักผ่อนที่ชาดหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน พ.ศ. 2556
เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์และนำเสนอ
ด้วยค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่ม ด้วยการทดสอบแบบ independent t-test ตัวแปรที่ศึกษา คือ ระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยการท่องเที่ยว
ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ามาท่องเที่ยวที่ชายหาดชะอำ 10 ตัวแปร
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติพึงพอใจในแต่ละตัวแปรที่ศึกษา 10 ตัวแปร และรวมเฉลี่ย 10
ตัวแปร ในระดับพึงพอใจมาก นักท่องเที่ยวชาวไทยพึงพอใจในตัวแปรที่ศึกษา 2 ลำดับแรก คือ การคมนาคมและ
ตัวแปรอื่นๆ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติพึงพอใจในตัวแปรที่ศึกษา 2 ลำดับแรก คือ การคมนาคมและที่พัก
2. นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจแตกต่างจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < 0.05) 3 ตัวแปร คือ ทะเลและชายหาด การคมนาคม และตัวแปรอื่นๆ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในฤดู
ท่องเที่ยว (High Season) และนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p < 0.05) 2 ตัวแปร คือ ทะเลและชายหาด และสถานที่และสิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยวเพศชายและนัก
กระแสวัฒนธรรม ๒๙
ท่องเที่ยวเพศหญิงมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในทุกตัวแปรที่ศึกษาและ
รวมเฉลี่ยทั้ง 10 ตัวแปร
3. จากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวเสนอแนะว่าเรื่องที่ควรปรับปรุง คือ สถานที่จอดรถและการจัดระเบียบ
การจอดรถ การปรับภูมิทัศน์ การขยายถนนสำหรับคนเดินและการจัดระเบียบการจราจร ราคาอาหารที่ไม่แพง
เกินไป รถบริการสาธารณะ ความสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและคนชรา ศูนย์บริการนักท่อง
เที่ยว
4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาชายหาดชะอำ คือ การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอเพื่ออำนวยความ
สะดวก ผู้กำหนดนโยบายหรือผู้บริหารระดับสูงควรเข้าร่วมประชุมและรับฟังปัญหาและความต้องการของ
ชุมชนที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว และช่วยผลักดันให้นโยบายและความต้องการสำเร็จ หาจุดเด่นและหาเอกลักษณ์
ของสถานที่ท่องเที่ยว จัดการท่องเที่ยวและบริการที่มีมาตรฐาน
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
Article Details
How to Cite
ศิวะพิรุฬห์เทพ น. (2014). ความพึงพอใจและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. Journal of Cultural Approach, 15(27), 28–38. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/19768
Section
Research Article
Proposed Creative Commons Copyright Notices
1. Proposed Policy for Journals That Offer Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).
Proposed Policy for Journals That Offer Delayed Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication, with the work [SPECIFY PERIOD OF TIME] after publication simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).