การบริหารจัดการดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาวงโจงกระเบน

Main Article Content

วิสุทธิ์ ไพเราะ

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการดนตรีไทยร่วมสมัย
วงโจงกระเบน ระหว่างปี 2554 -2555 ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัย คือหัวหน้าวงโจงกระเบน นักดนตรีจำนวน 30
คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ
วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการศึกษากับ
แนวคิดและทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแบ่งการวิเคราะห์ ตามทฤษฎีของลูเธอร์ กูลิค เกี่ยวกับการ
บริหารจัดการ
ผลการศึกษาการบริหารจัดการวงดนตรีไทยร่วมสมัยวงโจงกระเบนพบว่า (1) การวางแผน พบว่า
หัวหน้าวงมีการเตรียมแผนงานอย่างเป็นระบบ (2) การจัดองค์กร พบว่าหัวหน้าวงมีการจัดทำโครงสร้าง
การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ (3) การจัดคนเข้าทำงาน พบว่า ด้านการศึกษา ด้านประสบการณ์ทำงาน
หัวหน้าวงมีส่วนสำคัญในการสรรหานักดนตรี (4) การสั่งการ พบว่า อำนาจการสั่งการอยู่ที่หัวหน้าวง
เพียงคนเดียว (5) การประสานงาน พบว่า หัวหน้าวงเป็นผู้ติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอก
(6) การรายงาน พบว่า หัวหน้าวงใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(7) งบประมาณ พบว่า มีการบริหารงบประมาณเป็นระบบ ผลการวิจัยเกี่ยวกับนักดนตรีพบว่า ช่วงอายุ
18-40 ปี รับราชการ นักศึกษา นักดนตรีอาชีพ ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท นักดนตรีส่วนใหญ่เห็น
ว่าวงมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบทั้ง 7 ด้าน
คำสำคัญ: ดนตรีไทยร่วมสมัย วงโจงกระเบน

Article Details

How to Cite
ไพเราะ ว. (2014). การบริหารจัดการดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาวงโจงกระเบน. Journal of Cultural Approach, 15(27), 16–27. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/19766
Section
Research Article