ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา : กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยามเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยามและเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการดำเนินการวิจัย โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสยามจำนวน 382 คน สถิติที่ใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และใช้สถิติค่าไคสแควร์ (Chi-Square Test) และ ค่าแกมม่า (Gamma) ในการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 53.4 มีอายุอยู่ระหว่าง 18 -21 ปี จำนวน 299 คน คิดเป็นร้อยละ 78.3 อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (นนทบุรี, นครปฐม,ปทุมธานี,สมุทรปราการ) จำนวน 332 คน คิดเป็นร้อยละ 86.9 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนักศึกษา จำนวน 343 คนคิดเป็นร้อยละ 89.8 มีระดับการศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษา (ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย) อยู่ในระดับปวช. หรือปวส. จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 59.7 และมีรายรับเฉลี่ยของครอบครัว/เดือนต่ำกว่า 20,000 บาท จำนวน171 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8 ตัวแปรด้านเพศ อาชีพ ประเภทสถานศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษา รายรับของครอบครัว พฤติกรรมการรับข่าวสารข้อมูล และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยจากผลการศึกษา พบว่าควรมีการประชาสัมพันธ์ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น นักศึกษาส่วนใหญ่มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเลือกตั้ง แต่เพียงเพื่อต้องการใช้สิทธิของตนเองตามรัฐธรรมนูญ จึงควรมีการให้ข้อมูลหรือมีการอธิบายรายละเอียดและประโยชน์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนถูกต้อง ควรปรับปรุงระบบการเลือกตั้ง หรือปรับปรุงแต่ละด้านในอนาคตให้ดีมากยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาจมีการขยายระยะเวลาในการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนอกเขตพื้นที่ให้มากขึ้น
Article Details
How to Cite
ทรัพย์สนอง ท. (2012). ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา : กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. Journal of Cultural Approach, 13(23), 46–60. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/1628
Section
Research Article
Proposed Creative Commons Copyright Notices
1. Proposed Policy for Journals That Offer Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).
Proposed Policy for Journals That Offer Delayed Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication, with the work [SPECIFY PERIOD OF TIME] after publication simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).