การเรียนปฏิบัติดนตรีในวิชาสังคีตนิยมแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดระดับเบื้องต้นด้วยวิธีการสอนแบบโคดาย

Main Article Content

วิสุทธิ์ ไพเราะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารการเรียนปฏิบัติวิชาสังคีตนิยมแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญว่าด้วยการปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดระดับเบื้องต้นสำหรับใช้ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา และ ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดระดับเบื้องต้นโดยใช้เอกสารการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น  ประชากรในที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยสยามที่ลงทะเบียนเรียนวิชาศิลปะและสังคีตนิยมในปีการศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 300 คน คณะผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยดังต่อไปนี้ 1)พัฒนาเอกสารการเรียนปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดระดับเบื้องต้นสำหรับในวิชาสังคีตนิยมขึ้นให้เหมาะสมกับวิธีการสอนดนตรีแบบโคดาย  2)สังเกตและประเมินการปฏิบัติของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนปฏิบัติคีย์บอร์ดเบื้องต้นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการปฏิบัติตามเอกสารการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น 3)เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนจึงใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการปฏิบัติคีย์บอร์ดเบื้องต้นของนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี  กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 1   มีจำนวนทั้งสิ้น 202 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจสูงถึง 99 คน  ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนส่วนใหญ่คิดว่าอาจารย์ผู้สอนมีวิธีการสอนมีลำดับการสอนที่เหมาะสมจัดอยู่ในระดับมาก( X = 4.49 ) ด้านประสิทธิภาพของเอกสารการเรียนรู้ พบว่าบทเพลงช่วยพัฒนาทักษะการปฏิบัติมากขึ้นจัดอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.62 ) ด้านทักษะการปฏิบัติพบว่าผู้เรียนสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดตามที่กำหนดได้และยังพบว่าการสอนให้ปฏิบัติคีย์บอร์ดช่วยทำให้สมาธิดีขึ้นจัดอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.61 )ด้านอุปกรณ์และสถานที่ในการเรียนปฏิบัติพบว่าผู้เรียนมีความพอใจต่อห้องเรียนปฏิบัติคีย์บอร์ดจัดอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.59 )

The purposes of this experimental research were to construct a Fundamental Keyboard Performance manual, emphasizing on student centered based-learning, for using in the higher education level and to investigate students’ satisfaction towards using the manual also to get comments which will be useful for music appreciation’s teaching and learning improvement.  The population was 300 of Siam University students who enrolled in Art and Music Appreciation in the academic year of 2011. The researchers used the following methods to obtain research data 1) constructed the Fundamental Keyboard Performance manual which conformed to Kodaly approach of music teaching and used it in classes. 2) observed, jotted down and evaluated students’ performance in both individual and group work for finding out the constructed manual’s efficiency, and 3) on the last period of teaching in each semester, the students would asked for complete the satisfaction questionnaire and gave comments.

The research results revealed that the majority of population was female with the ages between 15 -20 years old also being freshmen with the total number of 202 persons (67.3 %) and 99 persons informed that they are studying in the Faculty of Business Management. The total students’ satisfaction result was 4.41 which considered high level. If examine into detail items, in learning management aspect, students’ satisfaction on teaching method and technique was at high level ( χ = 4.49). In manual’s efficiency aspect, students’ satisfaction on ease and beautiful melody of selected songs was at the highest level ( χ = 4.62). In music skill development aspect, students’ satisfaction on enable to do keyboard performance followed the learning objectives considered the highest level ( χ = 4.61). In musical instruments and learning place aspects, the satisfaction of students on learning place was at the highest level as well ( χ = 4.59).

The recommendations were as following 1) decrease reports and lecture hours whilst increase keyboard practice hours 2) add easy and up-to-date songs into the manual for the reason that students could play keyboard among friends 3) The appropriate time for Music Appreciation class should be in the morning because music instrumental practice helps students’ concentrations improvement. 4) It had better if the university could provide separated classroom for each instrumental practice to decrease students’ confusing from unclear lecture and overabundant sounds of different music instruments.

Article Details

How to Cite
ไพเราะ ว. (2013). การเรียนปฏิบัติดนตรีในวิชาสังคีตนิยมแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดระดับเบื้องต้นด้วยวิธีการสอนแบบโคดาย. Journal of Cultural Approach, 14(25). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/12033
Section
Research Article