การรับรู้ของเยาวชนไทยต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

คมสิทธิ์ ้เกียนวัฒนา
จรินรัตน์ ทองพันธ์
et al.

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของเยาวชนไทยต่อภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนไทย จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) การหาร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (\bar{x}) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 19–25 ปี มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรี และเป็นนักเรียน/นักศึกษา 

  2. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีเดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวหรือนันทนาการ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์–อาทิตย์) และมีการเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัว ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากอินเทอร์เน็ต


  3. ผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้ภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (\bar{x}= 4.38, S.D. = 0.553) มากที่สุด รองลงมาเป็น ด้านบรรยากาศของสถานที่ (\bar{x}= 4.35, S.D. = 0.537)




  4. เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05



Article Details

How to Cite
้เกียนวัฒนา ค., ทองพันธ์ จ., & al., et. (2017). การรับรู้ของเยาวชนไทยต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 18(34), 18–26. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/102317
บท
Research Article

References

[1] Anukool, Supak. (1996). The Important Days of Thailand. Bangkok: Aksarapiphat.

[2] Kasetsiri, Charnvit. (1997). Cultural Tourism. Bangkok: Thailand Research Fund.

[3] Kheovichai, Kanit. (2012). Recreation Resources as Learning Resources to Attract Tourists. Journal of Cultural Approach, 13(24), 67-74.

[4] Mongkolwanit, Chonlada & Chatwong, Rattanaphon. (2016). Attitude and Behavior of Thai youths toward the World Cultural Heritage: The Case of Ayutthaya Historical Park. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 10(2), 3-17.

[5] Pinkaew, Kailoek. (2013). Cultural Tourism. Retrieved December 25, 2016, from https://tourism-dan1.blogspot.com/2013/06/blog-post.html?m=1

[6] Pongsaphit, Amara. (2002). Cultural Diversity. 3rd ed. Bangkok: Chula Press.

[7] Saenasu, Saowanee. (1989). Voluntary and Youth Activities. Bangkok: Odian Store.

[8] Thammaboot, Phayom. (2005). Principles of Ecotourism. Bangkok: Institute of Ecotourism.

[9] Tourism Authority of Thailand. (2007). Creating Tourism Field Trips for Youth. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

[10] Vanichbuncha, Kanlaya. (2006). Statistics for Research. 2nd ed. Bangkok: Chula Press.