The การพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • pawarisa damrongjitsanguan -
  • ชิดชไม วิสุตกุล

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีน, ความคงทนในการจดจำคำศัพท์, เทคนิคช่วยจำ, แอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ เพื่อศึกษาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1 ห้อง นักเรียนจำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนจำนวน 6 แผน      2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีน เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และ     3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test for dependent samples และ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีนหลังเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   2) นักเรียนมีความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ มีคะแนนที่เพิ่มขึ้น 5.17% และ 3) นักเรียนที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ชอบและสนุกกับการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีนได้ดีขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษา.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563) การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์-ดร.จักรกฤษณ์-โพด.pdf

จันทนา บรรจงดิษฐ์, สมาน เอกพิมพ์ และพุทธารัตน์ ทะสา. (2558) การพัฒนาความสามารถภาษาจีนเพื่อการ

สื่อสารโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 (น. 65-73). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2563) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทนโดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 534-547

นุชรี นามราช และสุรชัย ปิยะนุกุล. (2554) The Development of Instructional Packages in English Grammar on Conditional Sentences for the 10th Grade Students. เข้าถึงได้จาก https://studylib.net/doc/7560099/the-development-of-instructional-packages-in-english-grammar

ปัญจลักษณ์ ถวาย. (2556) การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพร วัฒนากมลกุล,และมโนรัตน์ สมคะเนย์. (2564) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกมผ่านแอพพลิเคชั่น. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 13(1),98-109.

รณพล มาสันติสุข. (2551) การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถม-มัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา.

ศุภราภรณ์วงศ์ชัชวาลย์. (2559) การพัฒนาความรู้ดานคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษ โดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (The Total Physical Response: TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบพลึง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาอังกฤษ) พะเยา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

เหงียน ถิ หญือ อี๊. (2556) การใช้เกมคำศัพท์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิสรา พรรัตนานุกูล,และโจว คัง. (2562) การศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาแบบเน้นงานปฏิบัติกับการสอนภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(1), 140-162.

Ebbinghaus, H. (1913) Memory: A contribution to experimental psychology. (H. A. Ruger & C. E. Bussenius, Trans.). Teachers College Press. https://doi.org/10.1037/10011-000

Hello Chinese เรียนภาษาจีน. (2022) Hello Chinese learning chinese. [Online] Available : https://apps.apple.com/th/developer/hellochinese-technology-co-ltd/id1001507515?l=th

Huanarom, Y. (2018) Mobile application for teaching elementary Chinese [Special section]. Panyapiwat Journal, 10, 305 - 315.

MGR Online. (6 May 2015) "5 เทคนิคการจำแบบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (info)" MGR Online. [Online] Available : https://mgronline.com/live/detail/9580000051827 (15 August 2022)

Wyra, M., Lawson, M. J., & Hungi, N. (2007) The Mnemonic Keyword Method: The Effects of Bidrectional Retrieval Training and of Ability to Image on Foreign Language Vocabulary Recall. Learning and Instruction, 17(3), 360-371.

Zhao, M. (2012) Chinese vocabulary Teaching of Thai college student based on memory staegies. (Thesis of Master Degree) Teaching to Speaker of Other Languages. College of international education. Shandong University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

damrongjitsanguan, pawarisa, & วิสุตกุล ช. . (2023). The การพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน, 10(1), 257–270. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/clcjn/article/view/261554