โครงการการบูรณาการวิชาการสอนภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมค่ายภาษาจีนเพื่อพัฒนาความรู้ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนในโรงเรียนขนาดเล็ก (โรงเรียนวัดหัวไทร)
คำสำคัญ:
คู่มือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน, ผลสัมฤทธิ์, แบบทดสอบ, คำศัพท์ภาษาจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนแก่นักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดฉะเชิงเทรา (โรงเรียนวัดหัวไทร) โดยการใช้กิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของคู่มือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของคู่มือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และประถมศึกษาปีที่5 ที่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดหัวไทร ทั้งชายและหญิง จำนวน 26 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนโดยใช้คู่มือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน เป็นเวลา 5 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมงครึ่ง แบบไม่ค้างคืน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คูมือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ภาษาจีนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples และ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1. คู่มือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 79.44/78.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่กำหนดไว้ 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้คู่มือกิจกรรมค่ายภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของกลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 และ 5 โรงเรียนวัดหัวไทร ก่อนทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.35 คะแนน และหลังทดลองคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 31.38 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังทดลอง พบว่าหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราวรรณ จิตตรีนิตย์. (2551). การจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สําหรับนักเรียนกลุ่มกิจกรรมพิเศษระดับประถมศึกษาตอนปลาย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการจำอักษรจีนโดยใช้เทคนิคมอร์ฟิ่งร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุณีย์ ธีรดากร. (2524). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนคร.
สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ และทักษะสังคมสําหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, SU Vol.6 No. 1 January – April 2013.
ไสว ฟักขาว . ( 2542). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์.
Delgado – Mong, Nereida. (1987, February). Oral Communication Apprehension among Business College Students and Its Relationship to English Language.
Giles Magret Hannah. (1975). “Learning centers: Design for Learning and living”. Desertation Abtracts International. 36(6).
PENG LITING. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพมหานคร.
McDonald, E. J. (October,1975). Development and evaluation of a set of muti-mediaself Instructional learning activity packages for using in remedial English at an urban community college. Dissertation Abstracts International, 34(4), 1590-A.
Thorndike, Edward L. (1966). Human learning. Cambridge, Mass. : M.I.T. Press.
Wright, Andrew.; David Betteridge.; & Michael Buckby. (2006). Games for Language Learning. 13th ed. Cambridge: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทความใน “วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน” เป็นทรรศนะของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่มีส่วนในความคิดเห็นในข้อเขียนเหล่านั้น