การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษาจากองค์ความรู้ของครูผู้สอนนาฏศิลป์ที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา

Main Article Content

วรินทร์พร ทับเกตุ
พหลยุทธ กนิษฐบุตร
บวรนรรฏ อัญญะโพธิ์
เกษร เอมโอด

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้จากครูผู้สอนนาฏศิลป์ที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้องค์ความรู้จากครูผู้สอนนาฏศิลป์ และ 3) หาคุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมของครูนาฏศิลป์ ระยะที่ 2 พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้มา ระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย เป็นครูนาฏศิลป์ 5 ท่าน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


       1) องค์ความรู้ของครูผู้สอนนาฏศิลป์จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา มีหลักการสำคัญ 3 ด้านคือ 1.1) หลักการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ ได้แก่ คัดเลือกนักเรียน สร้างความรู้พื้นฐาน เสริมความรู้การสร้างสรรค์ จัดประสบการณ์ และสร้างสรรค์ผลงาน 1.2) แนวทางส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ จัดทีม แบ่งผู้รับผิดชอบตามความถนัด 1.3) กลวิธีส่งเสริมความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ ร่วมเรียนรู้การสร้างสรรค์ และทำงานด้วยตนเอง 2) กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมี 3 กิจกรรมคือ 2.1) สร้างความรู้พื้นฐาน รำเข้าจังหวะเพลงและบทร้อง ตีความหมายบทร้องและท่ารำ 2.2) เรียนรู้งานสร้างสรรค์ผู้อื่น วิเคราะห์แนวคิด ความสอดคล้ององค์ประกอบการแสดง และ 2.3) สร้างสรรค์งานด้วยตนเอง เชื่อมโยงแนวคิดสู่การออกแบบสร้างสรรค์งานอย่างเป็นเอกภาพ 3) คุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด  = 4.58, S.D. = 0.54

Article Details

How to Cite
ทับเกตุ ว. . ., กนิษฐบุตร พ. ., อัญญะโพธิ์ บ. ., & เอมโอด เ. . (2024). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษาจากองค์ความรู้ของครูผู้สอนนาฏศิลป์ที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา. วิพิธพัฒนศิลป์, 4(1), 80–97. https://doi.org/10.14456/wipit.2024.6
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). คู่มือการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (ม.ป.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.

ประไพลิน จันทน์หอม. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วรินทร์พร ทับเกตุ, พหลยุทธ กนิษฐบุตร, บวรนรรฏ อัญญะโพธิ์ และ เกสร เอมโอด (2567). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษาจากองค์ความรู้ของครูผู้สอนนาฏศิลป์ที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา. คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

อุทัย ศาสตรา, ชาริณี ตรีวรัญญู และ ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ (2562). กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย). วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 544 - 568. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/196423/136549

อุบล ตู้จินดา. (2532). หลักและวิธีสอนศิลปะ. โอเดียนสโตร์.

อุษา สบฤกษ์. (2536). การศึกษาพฤติกรรมการสอนนาฏศิลป์ไทยในวิทยาลัยนาฏศิลป์.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75173