การวอร์มเสียงร้องด้วยวิธีการบูรณาการศาสตร์กายบริหาร เพื่อเสริมกระบวนการคิเนสเตติก

Main Article Content

ภคอิงค์ภักดิ์ ศุภการ

บทคัดย่อ

การวอร์มเสียงของผู้ขับร้องต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้ออย่างชาญฉลาด ด้วยการเรียนรู้ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและประสาทสัมผัสให้เชี่ยวชาญ จนร่างกายสามารถจดจำรายละเอียดและเกิดประสิทธิภาพการใช้งานได้โดยอัตโนมัติ ผู้เขียนตระหนักถึงความสำคัญของแนวความคิดในการฝึกฝน โดยเลือกศาสตร์โยคะและพิลาทิสมาบูรณาการเป็นท่ากายบริหารเพื่อให้เกิดกระบวนการคิเนสเตติก (Kinesthetics) ให้แก่ผู้ฝึกขับร้องเพลง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางร่างกายให้เป็นเสมือนเครื่องดนตรี ผู้เขียนนำเสนอทางเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนเทคนิคการขับร้องด้วยการบูรณาการศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการชะลอและป้องกันความเสื่อมของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับร้องทั้งสิ้น 4 ท่า ได้แก่ 1) ท่าที่ 1 ดัดแปลงมาจากพิลาทิส: ท่าการออกแรงที่เท้าบนเก้าอี้ (Pilates: Footwork on the chair) 2) ท่าที่ 2 ดัดแปลงมาจากพิลาทิส: ท่าการออกแรงที่เท้าบนผนัง (Pilates: Footwork with wall) 3) ท่าที่ 3 ดัดแปลงมาจากโยคะ: ท่านักรบ (Virabhadrasana: Warrior) 4) ท่าที่ 4 ดัดแปลงมาจาก หฐโยคะ: ท่าตั๊กแตน (Salabhasana: Locust Pose)


บทความนี้สรุปความเกี่ยวข้องกันระหว่างกายวิภาคศาสตร์การขับร้องกับกระบวนการคิเนสเตติก ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันระหว่างเทคนิคในการขับร้องและท่ากายบริหารตามที่ได้นำเสนอข้างต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการเปล่งเสียงที่ไม่ติดขัด ส่งผลถึงความทนทานของกลุ่มอวัยวะในการขับร้องซึ่งช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้งานของกลุ่มอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับร้องดังกล่าว

Article Details

How to Cite
ศุภการ ภ. (2023). การวอร์มเสียงร้องด้วยวิธีการบูรณาการศาสตร์กายบริหาร เพื่อเสริมกระบวนการคิเนสเตติก. วิพิธพัฒนศิลป์, 3(2), 33–46. https://doi.org/10.14456/wipit.2023.9
บท
บทความวิชาการ

References

Dewood, D., (2010). The Fach System: origin, function, and the dangers of perception. Academia.edu. https://www.academia.edu/32108110/The_Fach_System_origin_function_and_the_dangers_of_perception

Fanning, C., (2013). Vocal Yoga VY®. CreateSpace Independent Publishing Platform.

Friedlander, C., (2018). Complete Vocal Fitness: A Singer’s Guide to Physical Training, Anatomy, and Biomechanics, Rowman & Littlefield Publishers.

Gardner, H., (1983). Theory of Multiple Intelligences. https://www.howardgardner.com

Lamperti, F., (1813 - 1892). Appoggio Breathing. Voice Science Works. https://www.voicescienceworks.org/appoggio.html

Lister, L., (2011). Yoga For Singers: Freeing Your Voice And Spirit Through Yoga. lulu.com.

Lyle, H., (2010). Vocal Yoga, the Joy of Breathing Singing. ‎Bluecat Music & Publishing.

Ongsomboom, T., Singnoy, C., & Suksawang, P. (2015). Comparisons of Movement Imagery Between Athlete and Non-Athlete. Journal of Sports Science and Technology., 15(2), 319-329. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSST/article/view/44956