รูปแบบการจัดอบรมของโครงการอบรมภาษาเมียนมา ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

วาสนา ส้วยเกร็ด

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษารูปแบบการจัดอบรมภาษาเมียนมา ในโครงการอบรมหลักสูตร “ภาษาและวัฒนธรรมเมียนมา” ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นภาษาราชการของประเทศเพื่อนบ้าน ที่สังคมไทยในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้ภาษาเมียนมาเป็นสื่อกลางเพื่อติดต่อสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพการงาน การศึกษา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยการนำเสนอองค์ประกอบต่าง ๆ ในการจัดรูปแบบการจัดอบรม และผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อการจัดอบรม ที่ส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดอบรมให้เหมาะสมในวิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings และการจัดทำบันทึกวิดีโอการสอนผ่านช่องทางยูทูป (YouTube)


          นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดอบรมภาษาเมียนมาของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นรูปแบบการจัดอบรมในลักษณะการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์อันไม่อาจคาดการณ์ได้ในอนาคตอีกด้วย

Article Details

How to Cite
ส้วยเกร็ด ว. (2022). รูปแบบการจัดอบรมของโครงการอบรมภาษาเมียนมา ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. วิพิธพัฒนศิลป์, 2(3), 52–69. https://doi.org/10.14456/wipit.2022.14
บท
บทความวิชาการ

References

กันต์ภูษิต วิโรจะ. (2563). การศึกษาภาษาและวัฒนธรรมเมียนมาที่ใช้ในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 213-230.

ดิเรก ตั้งจิตยืนยง. (2565, 18 มีนาคม). ห้องเรียนยุคใหม่ รองรับการใช้งานแบบ Hybrid Learning. AVL. https://avl.co.th/blogs/hybrid-learning/

ธนชัย แสงจันทร์. (2559, 10 พฤศจิกายน). ภาษา (ถิ่น) ในอาเซียน. ศูนย์การเรียนรู้อาเซียนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. http://asean.dla.go.th/public/knowledgeArticle.do?cmd =article&category=5&nid=46&lang=th&random=1478907428474

ธิษณา ศรัทธารัตน์ธนา. (2564). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในวิถีชีวิตใหม่ในบริบทการศึกษา ของประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), C1-C15.

นภาวรรณ จ้อยชารัตน์. (2558). การจัดอบรมและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อการถ่ายโอนการฝึกอบรม: กรณีศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี]. DSpace JSPUI. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2878/1/RMUTT-151702.pdf

นิดาวรรณ สุบรรณเสนีย์. (2556). ความต้องการแรงงานคนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมาในตลาดแรงงาน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). [ปัญหาพิเศษ, มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54930548.pdf

พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, กมลาวดี บุรณวัณณะ, ผณินทรา ธีรนนท์ และวิไลวรรณ จักร์แก้ว. (2564). ผลกระทบของการเรียนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษานิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(3), 424-439.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563, 23 ธันวาคม). คำแถลง/ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล (COVID-19) เรื่อง การปิดส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลในพื้นที่ศาลายา การจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการประชุมผ่านออนไลน์. Mahidol University. https://mahidol.ac.th/temp/2020/12/announcement-23-12-63-th.pdf

ยง ภู่วรวรรณ. (2563). ผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ผลกระทบทางด้านการศึกษา. COVID-19 และระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=4

ราชบัณฑิตยสภา. (2563, 13 พฤษภาคม). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New Normal”. https://shorturl.asia/sU37j

ศรัณย์ บุญทา. (2558, 11 กุมภาพันธ์). ยูทูป ห้องเรียนใหม่ พลังการเรียนรู้ ที่ไม่รู้จบ. ครูบ้านนอก.คอม. https://www.kroobannok.com/73955

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, จรัมพร โห้ลำยอง และกัญญา อภิพรชัยสกุล. (2554). ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติใน 11 จังหวัดสำคัญในประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัญญรัตน์ นาเมือง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการสอนภาษาเมียนมาเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 54-66.

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 28 เมษายน). การสอนภาษาเมียนมา: การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาเมียนมา. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=Dbnht_8BgKY

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 5 พฤษภาคม). การอบรม “ภาษาเมียนมาเพื่อการท่องเที่ยว”. http://lc.mahidol.ac.th/rilca360/20210506-myanmar/

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 5 กรกฎาคม). การอบรม “ภาษาเมียนมาเพื่อบุคลากรการแพทย์ รุ่นที่ 1”. http://lc.mahidol.ac.th/rilca360/20210705-myanmar/

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 6 พฤศจิกายน). การอบรม “ภาษาเมียนมาเบื้องต้น” รุ่นที่ 3. http://lc.mahidol.ac.th/rilca360/20211106-myanmar03/

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565, 21 พฤษภาคม). การอบรม “ภาษาเมียนมาเพื่อการสื่อความหมายอย่างเป็นทางการ”. http://lc.mahidol.ac.th/rilca360/20220521-myanmar/