การสร้างสรรค์เดี่ยวซออู้ เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์เดี่ยวซออู้ เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เดี่ยวซออู้ เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างสรรค์
ผลการวิจัยพบว่า เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว เป็นเพลงอัตราจังหวะชั้นเดียวประเภทเพลงฉิ่ง มี 3 ท่อน อยู่ในเรื่องฉิ่งพระฉัน ในขั้นแรกนั้นได้มีความนิยมนำเพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว มาใช้สำหรับการไล่มือเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในเครื่องดนตรีต่างๆ เนื่องจากลักษณะของเพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว เป็นเพลงประเภททางพื้นสามารถแปรทำนองของเครื่องดนตรีต่างๆ ได้หลากหลาย และสามารถบรรเลงติดต่อกันได้เป็นเวลานาน ซึ่งการนำเอาเพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว มาเป็นเพลงไล่มือนั้น นอกจากจะได้พละกำลัง ความคล่องตัว และความชำนาญมากขึ้นแล้ว ยังสามารถใช้ฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการแปรทำนองของผู้บรรเลงได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเกิดแรงบันดาลใจในการนำเพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว มาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีซออู้ โดยใช้แนวคิดการประพันธ์เพลงของอาจารย์มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) และยังคงลักษณะเฉพาะของเพลงฉิ่งมุล่งไว้เป็นสำคัญ ในการสร้างสรรค์เดี่ยวซออู้ เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว ในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบการประพันธ์ 2 รูปแบบ คือ 1) การใช้ลักษณะสำนวนกลอนที่นิยมใช้ในทางเดี่ยวเที่ยวเก็บ และ 2) การใช้เทคนิคในการบรรเลงเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี นอกจากนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์เพลงเดี่ยวเพื่อฝึกความคล่องตัวด้านการใช้สำนวนกลอน การใช้นิ้ว การใช้คันชัก ให้กับผู้บรรเลง โดยมีรูปแบบของการดำเนินทำนองและกลวิธีพิเศษที่แสดงถึงความเป็นเพลงเดี่ยวอย่างชัดเจน มีความเหมาะสมสำหรับการบรรเลงเพลงเดี่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
บุญธรรม ตราโมท. (2540). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. ศิลป์สนองการพิมพ์.
ประชากร ศรีสาคร. (2560). การร้อยเรียงสอดทำนองซออู้. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 4(1), 15-34.
มนตรี ตราโมท และ วิเชียร กุลตัณฑ์. (2555). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ - ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2540). ดุริยางค์ไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันติ อุดมศรี และจรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2560). ปรากฏการณ์วิทยาทางดนตรีไทย และการเปลี่ยนผ่านทางสภาวะความรู้สึกของนักระนาดเอก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(2), 168-174.