ครูสุคนธ์ พุ่มทอง: นักร้องผู้สืบทอดความรู้เพลงร้องสำนักบ้านบาตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอชีวิตและความรู้ของครูสุคนธ์ พุ่มทอง ในฐานะของนักร้องผู้สืบทอดความรู้การขับร้องของสำนักบ้านบาตร สำนักดนตรีที่สืบทอดความรู้ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) โดยมีคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เป็นผู้ถ่ายทอดสรรพวิชาการขับร้องให้เป็นอย่างดี ประจักษ์ด้วยกลวิธีการขับร้องของครูสุคนธ์ พุ่มทอง ที่เป็นไปตามแนวทางการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) อย่างเคร่งครัดอันเกิดจากความศรัทธาในความรู้และความเป็นครูของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในงานบันทึกเสียงชิ้นประวัติศาสตร์ของเดวิด มอร์ตัน บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าครูสุคนธ์ พุ่มทอง เป็นนักร้องหญิงที่เข้ามาเรียนรู้วิชาขับร้องหลังจากที่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) สิ้นชีวิตไปแล้ว ความใกล้ชิดในฐานะศิษย์ของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ทำให้ครูสุคนธ์ พุ่มทอง ได้เรียนรู้และฝึกหัดงานฝีมือด้านหัตถศิลป์ด้วย สำหรับด้านการขับร้องครูสุคนธ์เป็นนักร้องที่ใช้เสียงธรรมชาติชัดเจนแจ่มใสในการขับร้องเสมอ คุณลักษณะเด่นของท่านคือการจดจำเพลงและองค์ความรู้เกี่ยวกับการขับร้องต่าง ๆ ไว้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการขับร้องแบบ “ตรงตามเครื่อง” ซึ่งเป็นกระบวนวิธีหนึ่งในการขับร้องตามแนวทางของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดังปรากฏอย่างชัดเจนในเพลงช้างกินใบไผ่ เถา ที่นำเสนอไว้ ณ บทความนี้ด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
ภาณุภัค โมกขศักดิ์. (2558). การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการขับร้องเพลงไทยของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 22(1), 181 – 206. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/52023/43103
มณรดา ศิลปบรรเลง. (2564). องค์ความรู้ด้านการขับร้องของสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
มาลินี สาคริก และคณะ. (2549). งานช้างเพื่อแผ่นดินครูชิ้น 100ปี. ปิ่นเกล้าการพิมพ์.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2555). ผกาวลี ตำนานละครเวทีของไทย. อินทนิล.
อานันท์ นาคคง และอัษฎาวุธ สาคริก. (2547). หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มหาดุริยกวีลุ่มเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มติชน.