คุณค่า และแนวคิดในการสร้างสรรค์ รำฉุยฉายนางอดูล ของ สุมิตร เทพวงษ์

Main Article Content

เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่า และแนวคิดในการสร้างสรรค์รำฉุยฉายนางอดูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตร เทพวงษ์ ผลจากการศึกษาพบว่า รำฉุยฉายนางอดูล สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับนำไปใช้ในการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นางอดูลปีศาจคิดแค้นนางสีดา  บทร้องประกอบไปด้วยกลอนที่มีฉันทลักษณ์เฉพาะใช้สำหรับการขับร้องด้วยเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรี โดยผู้สร้างสรรค์มีการใช้สัมผัสใน ทั้งที่เป็นสัมผัสสระ สัมผัสวรรณยุกต์ รวมถึงการใช้คำซ้ำ และคำที่ให้นัยลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลให้บทประพันธ์มีความงดงามทางภาษา เพลงที่ใช้ในการบรรเลง และขับร้อง ได้แก่ เพลงรัว เพลงฉุยฉาย เพลงแม่ศรี และเพลงเร็ว-ลา กำหนดใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าหรือเครื่องคู่ในการบรรเลง โดยในส่วนของกระบวนท่ารำ เป็นการใช้ภาษาท่าในการสื่อความหมายตามบทร้องและทำนองเพลงปรากฏการใช้ท่ารำซ้ำ แต่มีการปรับเปลี่ยนไม่ให้เกิดความซ้ำซาก ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสลับข้าง การเว้นช่วงในการปฏิบัติท่ารำ รวมถึงการปรับการใช้มือ เท้า ศีรษะให้เกิดความแตกต่าง ตลอดจนมีการนำเอาท่ารำจากการแสดงชุดอื่นๆ หรือท่ารำที่มีอยู่แล้วมาร้อยเรียงให้เชื่อมกันด้วยท่านาฏยศัพท์ต่างๆ จนเกิดลีลาท่ารำแบบใหม่ รูปแบบการแต่งกายกำหนดให้แต่งกายด้วยผ้าห่มนางสีแดงขลิบเขียว นุ่งผ้ายกเขียว โดยรวบผมเป็นหางม้า ประดับรัดท้ายช้อง และสวมกระบังหน้าเป็นเครื่องประดับศีรษะ ตามบทบาทของตัวละครที่แปลงกายเป็นนางกำนัล ซึ่งอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากรำฉุยฉายนางยักษ์แปลงที่มีมาแต่โบราณทั้งนี้แม้ว่าผู้สร้างสรรค์ผลงานจะเสียชีวิตไปแล้วแต่คุณค่าของผลงานทั้งทางด้านวรรณศิลป์ และนาฏดุริยางคศิลป์ยังคงประจักษ์ชัด แสดงให้เห็นถึงแนวคิดและภูมิปัญญาเฉพาะตนในการสร้างสรรค์ผลงาน ควรแก่การอนุรักษ์  สืบทอด และส่งเสริมไว้ในฐานะมรดกอันทรงคุณค่าของวงการนาฏศิลป์ไทยสืบไป

Article Details

How to Cite
นาฏการจนดิษฐ์ เ. (2022). คุณค่า และแนวคิดในการสร้างสรรค์ รำฉุยฉายนางอดูล ของ สุมิตร เทพวงษ์. วิพิธพัฒนศิลป์, 2(1), 30–51. https://doi.org/10.14456/wipit.2022.3
บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญฟ้า ศิวิจารย์. (2561). ละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 241-252. https://so01.tcithaijo.org/index.php/AJPU/article/view/66602/82932

จินตนา สายทองคำ. (2563). นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ : ฉุยฉายนารีผีเสื้อสมุทรจําแลง. วารสารพัฒนศิลปวิชาการ, 4(2), 44-58. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/252250/170646

จิรัชญา บุรวัฒน์. (2558). นาฏยลักษณ์ของนางยักษ์ในโขนและละครรำ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์. (2556). การออกแบบลีลานาฏศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2553. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมจักร พรหมพ้วย. (2557). คัมภีร์นาฏยศาสตร์. [เอกสารประกอบการสอน].คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). สีและลักษณะหัวโขน. กรมศิลปากร.

ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2543). ฉุยฉาย. วารสารวารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 53-59. http://thesis.swu.ac.th/swuarticle/Fi_Art/Fi_Artsv8n2 (16)p53.pdf

สุมิตร เทพวงษ์. (2547). ฉุยฉาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

เสาวภา ไพทยวัฒน์. (2557) การส่งเสริมงานอนุรักษ์งานปักผ้าเครื่องแต่งตัวชุดโขนละครรำไทยของชุมชนวัดเขียนนิวาสน์ ตรอกไก่แจ้ กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 1-13. http://www.journal.grad.ssru.ac.th/downloads/journal/7-2/01.pdf

ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. (2565). บทละครเรื่องรามเกียรติ์. https://vajirayana.org/.