ศาสนสุนทรียศาสตร์วิจารณ์

Main Article Content

อานนท์ กาญจนโพธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          ระบบการกล่อมเกลาศิลปะของวิถีชีวิตไทยอยู่ภายใต้บวรพระพุทธศาสนา แต่ด้วยธรรมชาติของศิลปะนั้นทำหน้าที่นอกประสงค์ของศาสนาอยู่หลายประการ จึงทำให้ความปรารถนาของทั้งศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวัฒนธรรมดนตรีต่างมีความคลาดเคลื่อนจากกัน โดยเฉพาะบัญญัติในศีลข้อที่ 7


          แม้หลักนิกายเถรวาทจะปฏิเสธหลักความงามเชิงดนตรีคีตศิลป์ แต่เมื่อได้ศึกษาภูมิหลัง พบว่า ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ปรากฏร่องรอยการนำศิลปะทางด้านดนตรีคีตศิลป์ไปใช้ในการทำความเข้าใจศาสนาโดยพระสมณโคดมตลอดจนเหล่าสาวกเป็นจำนวนมาก เช่น ในพระมหาปุริสลักษณะ มงคลสูตร สิปปสูตร อรรถกถาพระธรรมบท มังคลัตถทีปนี ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อีกทั้งตำนานปรัมปราจำนวนมาก ซึ่งประโยชน์ของศาสนานั้นสามารถนำไปสู่ความเข้าใจหลักสุนทรียศาสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ ได้ เช่น ไตรสิกขสังคีต อกุศลมูลในทรรศนะศิลปะ นิกายเซนกับความงาม ศิลปะกับศีลธรรม เป็นต้น


          มนุษย์จะทำงานทางด้านศาสนาจริยศาสตร์ได้ดีนั้น ควรเป็นผู้ที่สนใจในกระบวนสุนทรียศาสตร์ เพราะมนุษย์ที่มีความถึงพร้อมในเรื่องดังกล่าวแล้ว เขาเหล่านั้นจะไม่หยิบยื่นแนวคิดทางศาสนาอันใดอันหนึ่งให้แก่ผู้อื่นแบบตรงไปตรงมา โดยปราศจากศิลปะ แต่การถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้ถึงพร้อมนั้นจะประณีตงดงามน่าจดจำกว่าผู้ที่ไม่มีศิลปะ


 

Article Details

How to Cite
กาญจนโพธิ์ อ. (2021). ศาสนสุนทรียศาสตร์วิจารณ์. วิพิธพัฒนศิลป์, 1(2), 64–80. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.11
บท
บทความวิจารณ์หนังสือและบทความปริทัศน์

References

ดนตรีกับศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน (Buddhist Music Manifesto). (2564). https://dharmasar.wordpress.com/tag/improvization/

พระไตรปิฎกเล่มที่ 9 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1. (2564). ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค. https://84000.org/tipitaka/read/?nhindex09.

พระมหาปุริสลักษณะ. (2564). https://buddhadhamma.uttayarndham.org/others/c/0/i/12575813/32-signs-great-man

พระไตรปิฎก เล่มที่ 10 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 2 [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพาน สูตร (16). (2560). https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต. (2560). https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=2384&Z=2422

พระสิริมังคลาจารย์. (2564). มังคลัตถทีปนี. http://www.thammasatu.net/balee/mkthai.php?Page=-1&park=1.

สมภาร พรมทา. (2564, 16 เมษายน 2564). สุนทรียศาสตร์ศึกษา. https://youtu.be/ETiHFTEenk8

เหม เวชกร. (2545). สมุดภาพพระพุทธประวัติฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา. https://84000.org/tipitaka/picture/f21.html.

อรรถกถาพระธรรมบท (ภาค 6). (2564). http://www.palidict.com/dl/DP_THml6.pdf