อิทธิพลละครวังหน้าในนาฏศิลป์กัมพูชา

Main Article Content

สุรัตน์ จงดา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีการถ่ายทอดให้กันระหว่างประเทศทั้งสองโดยเฉพาะเรื่องนาฏศิลป์


          จากการศึกษาพบว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกรณีความขัดแย้งระหว่างวังหน้าและวังหลวง ทำให้กลุ่มละครจากวังหน้าของสยามบางส่วนอพยพเข้าไปที่กัมพูชา และไปเป็นครูสอนละครหรือนาฏศิลป์แบบราชสำนักกรุงเทพในราชสำนักกัมพูชา ปรากฏชื่อ ปริง และเล็ก และได้นำวิธีการแสดงละครเรื่องพระสมุทอันเป็นบทละครพระบวรราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ไปเผยแพร่ในราชสำนักกัมพูชาจนเป็นที่นิยม ละครเรื่องพระสมุทนี้เป็นละครเรื่องสำคัญที่ส่งอิทธิพลต่อละครในสมัยต่อมา คือพระราชินีศรีโสวัฒโมนิวงค์โกศมิกเนียรีรัฐ ผู้เป็นพระมารดาของพระเจ้านโรดมสีหนุ ได้นำบทละครเรื่องพระสมุท ตอนนางบุษมาลีชมสวน มาประดิษฐ์เป็นการแสดงชุดระบำอัปสรา โดยปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายบางอย่างให้ใกล้เคียงกับแบบนางอัปสรที่นครวัด และทำการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องระบำอัปสราปรากฏขึ้นครั้งแรกในภาพยนตร์ฝรั่งเศส ในเรื่อง L'Oiseau de Paradis หรือ The Bird of Paradise กำกับการแสดงโดย Marcel Camus โดยผู้รำเป็นตัวเอก ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ เจ้าหญิงบุปผาเทวีหรือสมเด็จพระเรียมนโรดมบุปผาเทวี พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ ระบำชุดนี้จึงกลายเป็นระบำที่มีชื่อเสียงที่สุดชุดหนึ่งของกัมพูชา อีกประการหนึ่งเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์แบบราชสำนักกัมพูชามีลักษณะที่ใกล้เคียงกับศิลปกรรมวังหน้าของสยาม ได้แก่ มงกุฎสตรีที่ทำแบบกระบังหน้าและเกี้ยวยอดแบบเดียวกับลักษณะหุ่นวังหน้า ห้อยข้างหรือเจียระบาดของตัวยักษ์ที่ทำแบบรูปปั้นเหมือนกับลักษณะหุ่นวังหน้า แม้แต่การทัดอุบะดอกไม้ทัดในละครวังหน้าและกัมพูชายังมีจารีตการปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วยนาฏศิลป์กัมพูชายังรักษาจารีตการทัดอุบะแบบนี้อยู่จนปัจจุบัน


 

Article Details

How to Cite
จงดา ส. (2021). อิทธิพลละครวังหน้าในนาฏศิลป์กัมพูชา. วิพิธพัฒนศิลป์, 1(2), 33–50. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.9
บท
บทความวิชาการ

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. (2556). โครงกระดูกในตู้. สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

จักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2540). หุ่นวังหน้า. โรงพิมพ์กรุงเทพ.

จักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2547). เรื่องเขมร. นิตยสารพลอยแกมเพชร. 13(301), 19.

ณัฎฐภัทร จันทวิช. (2545). กรมพระราชวังบวรสถานมงคลกับงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยม. เอ พีกราฟฟิค ดีไวร์ และการพิมพ์ จำกัด.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2510). นิราศนครวัด. คลังวิทยา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำตำนานละครอิเหนา. มติชน.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2553). ตำนานวังหน้า. แสงดาว.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. หุ่นจีนวังหน้า. https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=32&chap=2&page=t32-2-infodetail05.htm

รจนา สุนทรานนท์. (2549). นามานุกรมนาฏยศิลปิน: การศึกษาการสืบทอดนาฏยศิลป์สู่กรมศิลปากร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนสุรวิทยาคาร จ.สุรินทร์. ท่ารำนางอัปสรา. https://sites.google.com/a/sura.ac.th/websit-dinner/xapsr-a/tha-ra-na-ngxaps-ra

หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดดิจิทัล. รูปเจ้าจอมมารดาเอม. http://mobile.nlt.go.th/ebookall/detail/371144

Pinterest. นางละครหลวงกัมพูชา. https://www.pinterest.com/pin/733172014330784784

Pinterest. ละครหลวงกัมพูชา. https://www.pinterest.com/pin/733172014330784784

Sookjai. เจ้าหญิงบุปผาเทวี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ แต่งเครื่องนางอัปสรา. http://www.sookjai.com/index.php?topic=184796.0