รูปแบบการประยุกต์ใช้รถยืนทรงตัวไฟฟ้าสองล้อในการแสดงสร้างสรรค์ชุด ทางช้างเผือก

Main Article Content

ภูรดา ธีระวิทย์
สุขสันติ แวงวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การแสดงสร้างสรรค์ ชุด ทางช้างเผือก เป็นการแสดงที่นำเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับทางช้างเผือกของไทยมาเป็นแนวคิดในการออกแบบการแสดง ผ่านกระบวนท่ารำมาตรฐานของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ ท่าจันทร์ทรงกลด ท่ากระต่ายชมจันทร์ ท่ากลางอัมพร โดยแบ่งช่วงการแสดงได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 แสงจากฟ้า ช่วงที่ 2 ดาราสวรรค์ และช่วงที่ 3 วิมานเทวา นอกจากนี้ มีการนำเอาเทคโนโลยี คือ รถยืนทรงตัวไฟฟ้าสองล้อหรือมินิเซกเวย์ มาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเคลื่อนที่ของผู้แสดง เพื่อสื่อถึง ความเบาและล่องลอยบนท้องฟ้า พบว่ามีรูปแบบการควบคุมรถยืนทรงตัวไฟฟ้าสองล้อที่สามารถใช้ในการแสดงได้ 4 รูปแบบ คือ 1. การเคลื่อนที่ไปด้านหน้า 2. การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง 3. การหมุนไปทางซ้าย และ 4. การหมุนไปทางขวา ซึ่งเมื่อนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบในการแสดงอื่น ๆ ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมการแสดงทางด้านนาฏศิลป์ไทยรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจขึ้นอีกชุดหนึ่ง


คำสำคัญ: การแสดงสร้างสรรค์, รถมินิเซกเวย์, นวัตกรรม


 

Article Details

How to Cite
ธีระวิทย์ ภ., & แวงวรรณ ส. . (2021). รูปแบบการประยุกต์ใช้รถยืนทรงตัวไฟฟ้าสองล้อในการแสดงสร้างสรรค์ชุด ทางช้างเผือก. วิพิธพัฒนศิลป์, 1(1), 60–69. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.5
บท
บทความวิชาการ

References

การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวง. (2562). นโยบายยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. https://backend.tsri.or.th/files/trf/2/docs/Policy_and_Strategy_of_Thailand_HESI_2563-2570_and_Thailand_SRI_Plan_2563-2565.pdf.

รุ่งกานต์ รุจิวรางกุล. (2556). ทวิภพสยบจักรวาล. มติชน.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.