"แขกแดง” ตลกชูโรงของการแสดงลิเกป่า คณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

อภิชาติ แก้วกระจ่าง
สุขสันติ แวงวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          ลิเกป่าเป็นการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่ได้มีการสันนิษฐานว่ามาจากการละเล่นของชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่บนเกาะบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามันต่อมาชาวไทยพุทธได้นำมาแสดง จนเกิดความนิยมและแพร่หลายไปยังชายฝั่งทะเลตะวันออกหรือฝั่งทะเลอ่าวไทยจนการแสดงลิเกป่ามีผู้นิยมกันกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ตรัง พังงา กระบี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีการแสดงลิเกป่ากระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดแถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา แต่ปัจจุบันลิเกป่าค่อย ๆ คลายความนิยมลงจนหาชมได้ยาก โดยเฉพาะลิเกป่าในจังหวัดพัทลุงที่เหลือแสดงอยู่เพียงคณะเดียว คือ คณะลิเกป่าเด่นชัย สงวนศิลป์


          หากกล่าวถึงการแสดงลิเกป่าก็จะนึกถึงตัวเอกของการแสดง คือ “แขกแดง” ที่เป็นตัวละครที่สำคัญในการดำเนินเรื่องของการแสดงลิเกป่า และยังเป็นเหมือนตัวตลกชูโรงที่สามารถดึงดูดความสนใจในการแสดงลิเกป่าอีกด้วย องค์ประกอบสำหรับการแสดงลิเกป่าคณะเด่นชัย สงวนศิลป์ ในส่วนของการเต้นแขกแดง คือ (1) รูปแบบลักษณะการออกแขกแดง (2) ดนตรีที่ใช้ประกอบในการเต้นแขกแดง(3) การแต่งกายของแขกแดง (4) การสืบทอดการเต้นแขกแดง ในปัจจุบันคณะลิเกป่าเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง ยังขาดผู้สืบทอดในการเต้นแขกแดง และอาจจะสูญหายไปในที่สุด เนื่องด้วยความนิยมในการแสดงลิเกป่าลดน้อยลง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์รูปแบบ และอัตลักษณ์ของการเต้นแขกแดงแบบดั้งเดิมคณะลิเกป่าเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง อีกทั้งเพื่อให้การแสดงลิเกป่าได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะตัวเอกของการแสดงลิเกป่า รวมถึงกระบวนท่าการเต้นของตัวแขกแดง หรือตัวตลกชูโรงของการแสดงลิเกป่าคณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง


คำสำคัญ: แขกแดง, ตลกชูโรง, การแสดงลิเกป่า


 

Article Details

How to Cite
แก้วกระจ่าง อ. ., & แวงวรรณ ส. . (2021). "แขกแดง” ตลกชูโรงของการแสดงลิเกป่า คณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง. วิพิธพัฒนศิลป์, 1(1), 13–27. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.2
บท
บทความวิชาการ

References

กลิ่น คงเหมือนเพชร. (2538). การศึกษาวิเคราะห์การแสดงพื้นบ้านลิเกป่าจังหวัดกระบี่. ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดกระบี่.

กิติมา ทวนน้อย. (2551). ลิเกป่าคณะเด่นชัยสงวนศิลป์ตำบลปันแต จังหวัดพัทลุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เกศสุริยงค์. (2556, 16 กุมภาพันธ์). แขกแดงเกี้ยวยาหยี. https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=02-2013&date=16&group=20&gblog=26

แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ลิเกป่า. (ม.ป.ป.). https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_dl_link.php?nid=2162

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2558). 100 เรื่องเมืองใต้ สาระความรู้เพื่อความเข้าใจแผ่นดิน ผู้คน และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ลิเกป่า. (ม.ป.ป.) https://sites.google.com/site/likepa123/khwam-hmay.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. (2561, 9 กันยายน). องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงลิเกป่า. https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=510&filename=index

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. (2558, 30 กันยายน). ลิเกป่า. https://www.mculture.go.th/ranong/ewt_news.php?nid=24&filename=index.

อุดม หนูทอง. (2542). ลิเกป่า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 14. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.