การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจหลังการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ระยะเปลี่ยนผ่าน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง จำนวน 249 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือเชิงปริมาณ 3 ชุด ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติต่อองค์กร แบบสอบถามการมีส่วนร่วม และแบบประเมินความพึงพอใจได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช เท่ากับ 0.88, 0.80, 0.78 ตามลำดับ เครื่องมือเชิงคุณภาพ 2 ชุด ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนถ่ายโอนฯ มีบุคลากรประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง จำนวน 109 คน เมื่อมีการถ่ายโอน บุคลากรที่ไม่มีความประสงค์ถ่ายโอนต้องย้ายไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่สังกัด ทำให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมีบุคลากรเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 249 คน โดยไม่มีรูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจเพื่อรองรับบุคลากรกลุ่มนี้อย่างชัดเจน เกิดปัญหาการประสานงานและการดำเนินงานสาธารณสุขเชิงรุกในพื้นที่ ปัญหาการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2) รูปแบบการจัดการองค์กรที่พัฒนาขึ้นใช้กลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน โดยการประชุมชี้แจง จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการบริหารภาครัฐแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาศักยภาพทีมวิทยากร 2) การปฏิบัติการ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ วางแผนพัฒนาองค์กรแบบมีส่วนร่วม การศึกษาดูงานนอกพื้นที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน การปรับโครงสร้างองค์กรโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน การปรับภารกิจหลัก ภารกิจรอง และภารกิจสนับสนุน 3) การสังเกตการณ์โดยการติดตามประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจและเพิ่มช่องทางในการสื่อสาร และ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติโดยการถอดบทเรียนและการสกัดชุดความรู้ใหม่ 3) ผลการพัฒนาพบว่าบุคลากรมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 1.39 โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านการจัดการองค์กร รองลงมาคือด้านการดำเนินงานเชิงรุกในพื้นที่ ด้านการปรับภารกิจ และด้านการพัฒนาและประเมินผลตัวชี้วัดด้านสุขภาพ ตามลำดับ และมีความพึงพอใจในการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 78.7
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วงศ์กมลโปรดักชั่น จำกัด.
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2566. สืบค้น 2 มิถุนายน 2566 จาก https://www.hfocus.org/sites/default/files/files_upload/siththiidrabenginkhapwykar.pdf.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไกรสร พิกุลรัตน์. (2559). ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560. สืบค้น 13 มิถุนายน 2566 จาก https://www.skto.moph.go.th/document_file/aumnat.pdf.
เจษฎา นันใจวงษ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้มีประสบการณ์ชีวิตในวงจรยาเสพติด. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 4(2), 1-22.
ไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(4), 50-62.
ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2565). การวิจัยปฏิบัติการ ACTION RESEARCH. สืบค้น 4 มิถุนายน 2566, จาก https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/Action-Research-1.pdf.
ดวงใจ เผ่าเวียงคำ. (2564). ผลกระทบของการวางแผนการปฏิบัติงานที่ดีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้อำนวยการกองคลังสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 88-97.
ดารารัตน์ สำเภาสงฆ์. (2561). การประยุกต์ใช้การประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจในการตรวจราชการและนิเทศงานสำหรับการป้องกันควบคุมโรคระดับเขต เขตสุขภาพที่ 12. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล และคณะ.รูปแบบการจัดการสมัยใหม่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 9(2), 64-68.
ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล. (2565). ทฤษฎีองค์การและการจัดการสมัยใหม่. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thaiprint.org/2020/12/vol128/knowledge128-03/.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ประสพชัย พสุนนท์ 2558 ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ Validity of Questionnaire for Social Science Research สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.
ยุรนันท์ ตามกาล และคณะ. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว. Journal of HR intelligence, 13(1), 20-45.
รมิตา ประวัติ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. งานนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม
และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112-126.
วิรงรอง สิงห์ยะยุศย์. (2564) การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอและสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 1(2), 14-32.
สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมิธ พิทูรพงศ์. (2560). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน กรณีศึกษาบริษัทสหผลิตภัณฑ์พาณิชย์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิตอล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สามารถ อัยกร. (2558). โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 102-107.
สำนักงานปลัดสำนักสำนักนายกรัฐมนตรี.(2565). การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2021/12/23865.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2566). การบริหารงานภาครัฐแบบมีส่วนร่วม. สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw.
อัญชลี มีเพียร. (2563). การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพในการจัดการพฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2563. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(33), 107-125.
UNESCO. (2001). Module Four Participatory Learning. Retrieved August 19, 2012, from http://www2.unescobkk.org/.