การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ยุคดิจิทัล กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย และการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูลในเทคนิคเดลฟาย จำนวน 23 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจเครื่องสำอาง และผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการบริหารจัดการในธุรกิจเครื่องสำอาง และ (ร่าง) รูปแบบ และ (โครงร่าง) คู่มือ ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 18 คน ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร นักวิชาการ นักบริหารการตลาด การตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้แก่ นักวิชาการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และนักบริหารการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 มิติ 12 องค์ประกอบหลัก มิติที่1) กลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1) ตัวผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบหลักที่ 2) กลยุทธ์ด้านราคา องค์ประกอบหลักที่ 3) บรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบหลักที่ 4) ช่องทางการขาย องค์ประกอบหลักที่ 5) การส่งเสริมการขาย มิติที่ 2) ด้านการส่งออก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 6) กฎหมายและข้อบังคับ องค์ประกอบหลักที่ 7) ด้านพิธีการส่งออก องค์ประกอบหลักที่ 8 ความรู้ในกระบวนการส่งออก มิติที่ 3) การบริหารองค์กร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักที่ 9) การบริหารงบประมาณ องค์ประกอบหลักที่ 10) การบริหารทรัพยากร มิติที่ 4) เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักที่ 11) แพลตฟอร์ม องค์ประกอบหลักที่ 12) นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ผลจากการศึกษาองค์ประกอบนำมาพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยคู่มือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 แนะนำการใช้คู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล ซึ่งทั้งรูปแบบและคู่มือได้รับการประเมินและเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมของเนื้อหา สามารถนำไปศึกษาต่อยอดเพื่อประโยชน์สูงสุดในการศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2566). ความตกลงทางการค้าระหว่างไทย-อินโดนีเซีย (No. 186008). กรุงเทพฯ: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2563). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564-2565). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.thaitrade.com/onlineexhibition/plan.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วินัยในตนเองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 3-15.
รดาธร สอนเต็ม (2563). สมรรถนะผู้นำด้านนวตักรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิโดยใช้เทคนิคเดลฟาย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
วิเชียร เกตุสิงค์. (2565). คู่มือการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุธี สุทธิสมบูรณ์ และสมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2540). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
Koontz, H. (1972). Making managerial appraisal effective. California Management Review, 15(2), 46-55.
Krungthai COMPASS. (2566). ตลาดเครื่องสำอางไปต่ออย่างไร หลังฝ่ามรสุมโควิด-19 เมื่อโควิดก็หยุดความสวยไม่ได้. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567, จาก https://thaipublica.org/2023/04/krungthai-compass51/.
Northcraft, G. B., Neale, M. A., & Early, P. C. (1994). Joint effects of assigned goals and training on negotiator performance. Human Performance, 7(4), 257-272.