การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดการโต้แย้งและคัดค้านการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย

Main Article Content

ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ

บทคัดย่อ

การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดการโต้แย้งและคัดค้านการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชนในการลดการโต้แย้งและคัดค้านการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่มที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ประชาชนบางส่วนยังไม่รับทราบมาตรการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านกฎหมายทำให้ประชาชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมมากนัก ภาครัฐจึงควรประชาสัมพันธ์มาตรการด้านกฎหมายที่หลากหลายช่องทาง 2) การให้ประชาชนเข้ามามีบทบาท ประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการหาแนวทาง แก้ไขปัญหาการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ภาครัฐควรและควรประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนในการสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหารายบุคคล 3) การปรึกษาหารือ ภาครัฐยังไม่มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ได้มาซึ่งคําปรึกษา ภาครัฐควรจัดทำแบบสอบถามสำรวจเพื่อนำมาแก้ไขหรือปรับปรุงด้านกฎหมาย 3) การให้อำนาจแก่ประชาชน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบการเข้าไปมีส่วนร่วมในการร้องทุกข์ ภาครัฐจึงควรจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยในหน่วยงานราชการแต่ละพื้นที่เพื่อให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการร้องทุกข์เพื่อผดุงความยุติธรรม  4) การสร้างความร่วมมือ ประชาชนบางกลุ่มที่ไม่มีความรู้การให้ข้อมูลด้านกฎหมาย ภาครัฐจึงควรจัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาให้ความรู้แก่ตัวแทนประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2561). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน. (2564). เครือข่างภาคประชาชนพร้อมค้านกฎหมายควบคุมภาคประชาชน. สืบค้น 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.amnesty.or.th/latest/news/973/.

รายละเอียดดูแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ 113/2545.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2561). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พนารัตน์ มาศฉมาด. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้น 10 มีนาคม 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php.

วจิตรกาน เจียรตระกูล. (2566). การระงับข้อพิพาทออนไลน์. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก https://www.senate.go.th/

วัชระ กลิ่นสุวรรณ. (2562). กระบวนการโต้แย้งคัดค้านก่อนออกคำสั่งทางปกครองเพื่อคุ้มครองสิทธิในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคู่กรณี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). รายงานการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนและบทบาทของกฤษฎีกาในกระบวนการนิติบัญญัติไทย. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก https://tdri.or.th/2012/09/pr019/.

สรณ บุญใบชัยพฤกษ์. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการตรากฎหมายที่เป็นนิติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2567). พระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2550. สืบค้น 10 มีนาคม 2567, จาก https://qr.senate.go.th/sh/f/?k=XPD05.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561ก). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561ข). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2567). คู่มือการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Black, H. C. (1991). Black’s Law Dictionary (6th Ed.). St. Paul Minn.: West Publishing.

Collins, N. and Cradden, T. (1997). Irish Politics Today (3rd Ed.). NY: Manchester University Press.