การศึกษาพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ ต่อรูปแบบรายการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสนใจ ความต้องการ ตลอดจนพฤติกรรมในการเลือกรับชมรายการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว เพื่อศึกษารูปแบบรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยการรวบรวมข้อมูลจากการวิจัย
เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล คือ จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนเป็นเพศชาย 200 คน และเป็นเพศหญิง 200 คน ด้วยสาเหตุเพราะต้องการทราบข้อมูลผู้ที่เป็นทั้งพ่อบ้าน และแม่บ้านที่เลือกรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว ด้วยเลือกการสุ่มตัวอย่างจากประชากรในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต จำนวนประชากรประมาณ 10,161,694 คน โดยสุ่มประชากรที่เป็นพ่อบ้านเพศชายเขตละ 2 คน สุ่มประชากรที่เป็นแม่บ้านเพศหญิงเขตละ 2 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และประเมินผลโดยการจัดทำกรรมวิธีสรุปข้อมูล โดยคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และคำถามปลายปิด ทำการลงรหัส และประมวลผลข้อมูล โดยใช้การแสดงผลในรูปแบบของตารางร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมและความต้องการในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้ว่า กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือกลุ่มประชาชนทั่วไป เพราะทุกคนมีสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันมูลฐานที่เป็นสังคมแรกเริ่มของคนทุกคน การกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลทั่วไปรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวนั้น จึงเป็นการสร้างเสริมให้เกิดความรักเข้าใจกัน และการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในครอบครัว โดยสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว คือ สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 อสมท. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ คือ ช่วงกลางคืน (20.01-00.00 น.) และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวในวันเสาร์และวันอาทิตย์ คือช่วงเย็น (17.01-20.00 น.) จากผลการวิจัยนั้นกลุ่มเป้าหมายต้องการรายการโทรทัศน์ที่เป็นไปในแนวทางของ เนื้อหาที่เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ที่ต้องแก้ไขเฉพาะหน้า วันดี วันร้าย และนื้อหาลักษณะที่เป็นวิธีการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ของบุคคลในครอบครัว ส่วนประเภทรายการที่กลุ่มบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการรับชมเนื้อหาสาระที่รายการนำเสนอด้วยรูปแบบของรายการประเภทวาไรตี้โชว์ เป็นการนำเสนอผู้ที่มาร่วมรายการที่เป็นบุคคลทั่วไป ซึ่งกิจกรรมพิเศษที่รายการโทรทัศน์ประเภทส่งเสริมสถาบันครอบครัวจัดขึ้น เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ร่วมกิจกรรมกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ คือการรับชมภาพยนตร์ และกิจกรรมร่วมสนุกกับรายการขณะรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว ที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว คือ กิจกรรมร่วมสนุกผ่านทาง SMS/MMS โดยที่สามารถนำผลการวิจัยนี้ ไปศึกษาถึงรูปแบบรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้ต่อไปในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.
กาญจนา วิชาคุณ. (2543). การนำเสนอรูปแบบและเนื้อหาที่สนับสนุนและต่อต้านสังคมที่ปรากฏในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองไพรำ สถาวรินทุ. (2543). การตัดสินใจยอมรับแนวคิดการจัดการศึกษาโดยครอบครัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง. วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรเทิง พาพิจิตร. (2549). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ปาริชาติ แก้วมงคล. (2541). ประสิทธิผลของรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์, สาขาวิชานิเทศศาสตร์การพัฒนา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. (2552). สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563, จาก http://rirs3.royin.go.th/word3/word-3-a0.asp.
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย พ.ศ. 2524. (2524). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563, จาก www.chaiwat.org/dict/index.php
พวงชมพู บำรุงสุข. (2541). กลยุทธ์การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์, สาขาวิชานิเทศศาสตร์การพัฒนา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์ วิเศษสังข์. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มธุรดา เจริญทวีทรัพย์. (2545). แนวทางในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาในครอบครัว. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์, สาขาวิชานิเทศศาสตร์การพัฒนา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิยาลัยเชียงใหม่. (2551). คณะมนุษย์ศาสตร์ ภาควิชาบ้านและชุมชน. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563, จาก http://www.human.cmu.ac.th/~hc/ebook/006103/lesson1/02.htm.
วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2560). รูปแบบรายการโทรทัศน์และการผลิตรายการโทรทัศน์ต้นแบบ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ.
สุรดา จรุงกิจอนันต์. (2544). การนำเสนอความบันเทิงในรายการเกมโชว์ พ.ศ.2543. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bpsmakom. (2556). โครงสร้างของสังคม. Retrieved January 17, 2020, from http://www.bpsmakom.org/BP_School/Social/Institute-Social.htm.
Whetmore, (1995). Mass Communication and Journalism. (5th ed.). Wadsworth Publishing.