การจัดการสินค้าคงคลังโดยการพยากรณ์ค่าความต้องการเฉลี่ยและการสั่งสินค้าด้วย EOQ: กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด

Main Article Content

สวัสกมล เสกสรรค์วิริยะ
พฤฒิพงศ์ อภิวัฒนกุล
ไชยรัช เมฆแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจำนวนการสั่งผลิตที่ประหยัดในแต่ละครั้ง และศึกษารูปแบบการพยากรณ์ความต้องการของผู้บริโภค การวิจัยในครั้งนี้จะใช้ข้อมูลปริมาณการจำหน่ายสินค้าของ บริษัท AAA จำกัด โดยนำข้อมูลการจำหน่ายกลุ่มลูกค้าขายปลีก ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2565 นำมาคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดเป็นเกณฑ์ในการเลือก คือ ค่า MAPE (Mean Absolute Percentage Error) ที่ได้จากการพยากรณ์ 2 เทคนิค ประกอบไปด้วย การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปกติ, การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก, การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พบว่า ค่าเฉลี่ยของข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนที่ต่ำ และมีความใกล้เคียงกับข้อมูลยอดขายสินค้า โดยปริมาณการสั่งซื้อสินค้ารวม เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 สามารถนำข้อมูลหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ที่มีค่าปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมจำนวน 3,600 กล่องต่อครั้ง และรูปแบบการพยากรณ์ความต้องการของผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,895 กล่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ลลิตา สันติวรรักษ์. (2021). Most-Used Social Media Platforms 2021. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://ajlalita.com/thailanddigital2021/

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). เกาะกระแสสินค้าสุขภาพสร้างโอกาสธุกิจ. จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSME Analysis/Documents/HealthyProduct.pdf

Zort. (2022). พาส่องพฤติกรรมผู้บริโภค 2022 เจาะลึกไลฟ์สไตล์ความต้องการแต่ละ Gen. จาก https://zortout.com/blog/behavior-4-generations-marketing-plan