นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบันของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ 2) เพื่อระบุปัญหาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ 3) เพื่อเสนอแนวทางนวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 10 คน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 คน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จำนวน 1 คน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 1 คน และผู้บริโภคพลังงานไฟฟ้า จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัย 1) วิเคราะห์ พบว่า (ก) มีปัญหาเรื่องการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากจีน ที่อาจทำให้การเติบโตของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์เกิดการชะลอตัวในภูมิภาคบางส่วนของโลก (ข) พลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้เฉพาะเวลากลางวัน ต้องมีการพัฒนาร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น (ค) พลังงานแสงอาทิตย์ยังมีต้นทุนพลังงานสูงกว่าพลังงานฟอสซิล 2) ปัญหา พบว่า (ก) อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน (ข) ขั้นตอนขออนุญาตซับซ้อน ใช้เวลาในการขออนุญาตนาน (ค) ผู้แข่งขันรายใหม่มีศักยภาพสูงในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (ง) มี Supplier จำนวนมาก และการแข่งขันสูง (จ) ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองสูง (ฉ) การแข่งขันระหว่างองค์กรในอุตสาหกรรมมีความรุนแรง และ 3) นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยใช้แนวคิด ESG ควรมีแนวทาง ดังนี้ (ก) การวิเคราะห์ (ข) กำหนดกลยุทธ์ (ค) การดำเนินงานและการเปิดเผย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (พพ.). (2563). Infographic. สืบค้น 26 ตุลาคม 2565, จาก https://pvgis.kmutt.ac.th/pvstatus2020/.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (พพ.). (2563). Module and System Pricing. สืบค้น 26 ตุลาคม 2565, จาก https://pvgis.kmutt.ac.th/pvstatus2020/module_and_system_pricing.html.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). GRI Standards: จากการรายงานสู่เครื่องมือการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://setsustainability.com/download/lmnyp1cfwdg8z59.
พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุ ลิมมานนท์. (2546). กลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ควอลิตี้ ครีเอชั่น.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2566). 7 บทเริ่มต้น ESG สำหรับ SMEs. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://www.ftpi.or.th/2023/112524.
สถาบันไทยพัฒน์. (2556). Environmental, Social and Governance (ESG). สืบค้น 23 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaicsr.com/2021/01/environmental-social-and-governance-esg.html.
สมยศ นาวีการ. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
Teo, T. (2012) Encyclopedia of Critical Psychology. NY: Springer.
Gamble J. E., Peteraf M. A., Thompson A. A. Jr. (2015). Essentials of Strategic Management: The Quest for Competitive Advantage. NY: McGraw-Hill Education.
International Energy Agency. (2023). Renewables 2023: Analysis and forecasts to 2028. Retrieved December 3, 2023, from https://www.iea.org/reports/renewables-2023/executive-summary.
Michael E. P. (1980). Competitive Advantage. NY: Free Press.
Pearce, J. A & Robinson, R. B. (2000). Strategic management. NJ: McGraw-Hill.
World Federal of Exchanges. (2018). WFE ESG Revised Metrics June 2018. Retrieved March 23, 2023, From https://www.world-exchanges.org/our-work/articles/wfe-esg-revised-metrics-june-2018.