นโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ของรัฐ

Main Article Content

อุดมศักดิ์ หมวดฉิมแก้ว
วรเดช จันทรศร
เพ็ญศรี ฉิรินัง
ชาญ ธาระวาส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และ 3) เพื่อวิเคราะห์นโยบายภาครัฐ และ 4) เพื่อเสนอรูปแบบการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติที่สนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดำเนินนโยบาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ


ผลการวิจัย 1) ด้านผลการดำเนินงาน พบว่าผู้ประกอบการกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมีผลการดำเนินงานในระดับ ดี แต่กลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมีผลการดำเนินงานในระดับพอใช้ 2) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน พบว่า ประกอบด้วย ความพร้อมของผู้ประกอบการ และสมรรถนะของผู้ประกอบการ 3) ด้านนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนผู้ประกอบการ พบว่า ประกอบด้วยนโยบายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ นโยบายส่งเสริมการลงทุน และนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และ 4) ด้านรูปแบบการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ประกอบด้วย (ก) รัฐควรกำหนดนโยบายให้มีความสอดคล้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และ (ข) รัฐควรนำนโยบายไปปฏิบัติโดยเชื่อมโยงข้อมูลกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). โครงการประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.dip.go.th/

กิริยา กุลกลการ. (2562). ผลกระทบของการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าต่อแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES).

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. (2566). รายงานประจำปี 2565 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.smebank.co.th

ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ (2558). บทบาทของภาครัฐก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมโรงแรมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปภพพล เติมธีรกิจ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดาเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พิทยา สุนทรประเวศ. (2562). นโยบายการปฏิรูปภาคเกษตรด้วย SME เกษตรอุตสาหกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศษรฐกิจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2566. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.sme.go.th

มาลัย ลีส่งสิทธิ์ลาลัย. (2560). ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริม ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริกุล ชัยโรจน์วงศ์. (2560). แนวทางนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตสูงในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ อำนาจวิภาวี. (2559). การส่งเสริมและการสนับสนุนของรัฐต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2565). คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2566. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566,จาก https://www.boi.go.th.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก http://www.industry.go.th.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). กฎกระทรวง กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา.

เสาวณี จันทะพงษ์ และ ชฎาธาร โอษธีศ. (2563). พลิกวิกฤตยานยนต์ไทยด้วยการยกระดับทักษะแรงงาน. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.