การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์
เอนก รักเงิน
กุลณัฐ ดวงโสม
สุทธิพงษ์ ชูกลิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชากรในกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนตำบลกบเจา หมู่ที่ 8 บ้านกรอกต้นไทร จำนวน 13 คนการวิจัยครั้งนี้ใช้เชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก


ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา คือทางกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนกบเจามีการบริหารจัดการกลุ่มโดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกลุ่มและการตลาด จะเป็นคนคอยจัดหาอุปกรณ์และดูแลสมาชิกภายในกลุ่มและเป็นคนนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ทางสมาชิกกลุ่มทำเสร็จแล้วนำไปออกขายสู่ท้องตลาดเองและมีรองประธานช่วยดูแลหน้าร้านเวลาออกขายตามบูธต่างๆ ส่วนเรื่องการขายของในช่องทางออนไลน์ก็จะมีสมาชิกในกลุ่มคอยช่วยดูแลและสมาชิกในกลุ่มที่เข้าร่วมจะมีหน้าที่เป็นเหมือนคนงานที่คอยทำตามคำสั่งของประธาน คือผลิตสินค้าตามที่ทางกลุ่มต้องการเมื่อถึงเวลาจะนำสินค้าที่ทำเสร็จแล้วส่งให้กับกลุ่มเพื่อนำไปขายสู่ท้องตลาดต่อไป


ปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา คือ สมาชิกในกลุ่มให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี รวมถึงการที่กลุ่มมีผู้นำกลุ่มที่ดีถือว่าโชคดีมากที่มีผู้นำที่จะนำพากลุ่มประสบความสำเร็จและยังมีหน่วยงานที่ช่วยเหลือและสนับสนุนอยู่ จะให้เป็นอุปกรณ์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับกลุ่มอาชีพเสริมแล้วยังมีอีกหลายหน่วยงานที่อยากจะเข้ามาส่งเสริมทั้งหน่วยงานพัฒนาชุมชน กองทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเข้าถึงผู้บริโภคโดยมีตลาดรองรับ กลุ่มเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและยังเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จึงทำให้กลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจามีหน้าร้านภายในชุมชนและยังสามารถไปออกบูธตามท้องตลาดได้จึงส่งผลให้ทางกลุ่มประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร สังชาติ. (2538). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). การดูแลผู้สูงอายุ. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/741

กรมประชาสงเคราะห์. (2530). ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนดินแดง. กรุงเทพฯ: กองสวัสดิการสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). การฝึกอาชีพสำหรับสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/474

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2528). การรักษาสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ชินวร เกื้อทาน และมาลี ไชยเสนา. (2558). แนวทางการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 7, 29 มีนาคม 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2277535

นงนุช สุนทรชวกานต์. (2552). การทํางานและผลตอบแทนแรงงานของผู้สูงอายุไทย. การสร้างโอกาสการทํางานของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรลุ ศิริิพานิช. (2526). ชมรมผู้สูงอายุ: การศึกษารููปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทํางานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ฝน แสงสิงแก้ว. (2526). ข้อคิดบางประการในเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุ: ความเป็นจริงและการคาดการณ์ในสังคมไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา หวันลำโส๊ะ. (2557). แนวทางการส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านไร่ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา.