ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรปริญญาโท: กรณีศึกษา หลักสูตรนโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

พีรยา เวชชศาสตร์
วศินี หนุนภักดี
มานิต สาธิตสมิตพงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรปริญญาโทของหลักสูตรนโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและบุคคลทั่วไปที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน สุ่มโดยวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียน หลักสูตรนโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย=3.94 ค่า Beta=.335 และค่า Sig.=.000) ปัจจัยด้านการพัฒนาสถานภาพทางสังคม (ค่าเฉลี่ย=4.00 ค่า Beta=.181 และค่า Sig.=.004) และปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย (ค่าเฉลี่ย=3.81 ค่า Beta=.214 และค่า Sig=.001) ซึ่งสามารถทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ 21 (ค่า Adjusted R2=0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 201-207.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรเพ็ญ วงศ์พจน์. (2559). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกเรียนระดับบัณฑิตศึกษา และแนวทางการเพิ่มจำนวนนักศึกษาบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. (2559). รายงานเรื่อง Issues and Trends in Education for Sustainable Development. กรุงเทพฯ: องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ.

เอกลักษณ์ วิริยะยุทมา. (2562). ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Foxall, G. R., & Sigurdsson, V. (2013). Consumer behavior analysis: Behavioral economics meets the marketplace. Psychological Record, 63(2), 231-237.

Kardes, Cronley and Cline. (2011). Consumer Behaviour. Mason. OH: South-Western Cengage Learning.

Kotler Philip. (1977). Marketing Management (10th ed). NJ: Prentice-Hall International.

Maslow, Abraham (1970). Motivation and Personality. NY: Harper and Row Publishers.