การศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัยด้วยเทคนิคกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ องค์ประกอบ รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิด และผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัยด้วยเทคนิคกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารในโรงเรียนฝึกวิชาชีพครู ครูผู้สอน นักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครูสาชาวิชาการศึกษาปฐมวัย ทั้งหมด 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามได้ .87 และใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาปฐมวัย จํานวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาปฐมวัย 4 ปี และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรจากคณะกรรมการ จำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและองค์ประกอบทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า โดยภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนองค์ประกอบทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่ามี 5 ปัจจัย คือ (1) จัดทำข้อตกลงเบื้องต้นและการวางแผนเบื้องต้นร่วมกันในการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมีกำลังใจจนสามารถทำโครงงานได้ (3) ฝึกให้ผู้เรียนร่วมนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาประดิษฐ์หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (4) ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตอบปัญหาและแสวงหาความรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานอย่างมีเหตุมีผล และ (5) ให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการค้นพบด้วยการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเองเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจในครั้งต่อไป 2) ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัยด้วยเทคนิคกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาหลักสูตร 9 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงคและขอบขาย 4) จุดมุ่งหมายเนื้อหา 5) กระบวนการฝึกอบรม 6) การสร้างหลักสูตร 7) พัฒนากิจกรรม 8) การนำหลักสูตรไปใช้ และ 9) การสร้างแบบวัดหลักสูตรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ผลการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบหลักสูตร พบว่า มีการนําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ โดยภาพรวมรายด้านมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม: โรงพิมพ์ครองช้าง.
จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2564). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน ปัญหาเป็นฐานและโครงงานเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(2), 778-793.
ชมพู เนื่องจํานงค์. (2564). กรอบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 623-640.
ชัชฎาภรณ์ หงส์นวล. (2561). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2565). การสอนคิดวิจารณญาณ. วารสารราชพฤกษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 10.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2565). แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2566, จาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Creator/personDc/38157
เบญจพร แก้วสา. (2558). การจัดการเรียนรู้ทฤษฎีกราฟโดยโครงงานเป็นฐาน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พนิดา ชาตยาภา. (2561). การคิดวิจารณญาณของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 159.
เพชรรัตน์ บุญเสนอ. (2563). กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีผลต่อทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นคละ โรงเรียนรุ่งอรุณ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(7), 143.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2561). คู่มือปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
รสริน ศรีริกานนท์. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
วัชรินทร์ โพธิ์เงิน. (2565). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพร ศรีจันทะ (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 248.
สมนึก ภัทธิยธานี. (2544). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สุภาณี ธรรมะ. (2561). วิจัยสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม และการประเมินตามสภาพจริง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนคร, 9(2), 235.
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วนการอ่าน. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จํากัด.
อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(3), 185.
Donald F. (2002). An Experiential Approach Organization. Development. NJ: Prentic-Hall. Inc.
Gliem, J. A., & Gliem, R. R. (2003). Calculating, interpreting, and reporting Cronbach’s alpha reliability coefficientfor Likert-type scales. Retrieved June 4, 2023, from http://hdl. handle. net/1805/344
Shoulders, B., Follett, C. & Eason, J. (2014). Enhancing Critical Thinking in Clinical Practice.Dimensions of Critical Care Nursing. Retrived June 4, 2023, from http://journals.lww.com/
Spearman, C. (1904). General Intelligence, Objectively Determined and Measured. The American Journal of Psychology, 15(2), 201-292.