แนวทางการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศไทย กรณีศึกษา: ท่าอากาศยานดอนเมือง

Main Article Content

ปุณณภา ธัญฐาดิษกร
วราภรณ์ เต็มแก้ว
ธัญญรัตน์ คำเพราะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแนวทางการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศไทย กรณีศึกษา: ท่าอากาศยานดอนเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยานดอนเมือง และเพื่อนำเสนอการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยานดอนเมือง ในการวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ได้กำหนดการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 400 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรที่ไม่ทราบจำนวนประชากรของ W.G.cochran โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านการสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.94 รองลงมา คือ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการตอบสนองความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.93 ส่วนด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.92 ตามลำดับ ได้รับแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์แบบใหม่ เรียงลำดับจากความเหมาะสมจากมากไปหาน้อย ได้แก่ Facebook, Twitter, Line, AOT application, YouTube และทำคลิปผ่าน Social Media ง่ายต่อการเข้าถึง แนวทางการพัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์ควรเป็นลักษณะ Two-ways communication (การสื่อสารแบบสองทาง มีการโต้ตอบซึ่งกันและกัน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด.

คมดาว รงค์ชนะ และปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2559). ปัจจัยคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2), 57-69.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นทร์.

นพพร สะใบบาง. (2553). คุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาแม่โจ้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MJU.res.2010.25

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). 2020). เกี่ยวกับ กอท. จาก https://www.airportthai.co.th/th

เมนาท บรรเทาทุกข์ และนลินี เหมาะประสิทธิ์. (2564). คุณภาพในการให้บริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีในการใช้บริการของลูกค้าธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในเขตจังหวัดพิจิตร. ใน โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564 (NPSC) วันที่ 1 เมษายน 2564 (221-235). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รินรดา มะอาลา สุภาภรณ์ ศรีดี และวิทยาธร ท่อแก้ว, (2564). การประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ของเทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 299-314.

รุ่งรุจี ศรีดาเดช. (2555). การพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วิณารัตน์ ภูวพัฒน์ชัยกิจ. (2561). คุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชาวไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตรพันธ์ และศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 21–31.

สิทธิเดช มัยลาภ. (2563). บทบาทประชาสัมพันธ์ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในยุคดิจิทัล. วารสารสื่อสารมวลชนและการจัดการ, 16(1), 1-10.

M Report. (2019). ช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล กลยุทธ์ PR และ Communication. จาก https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/049-Industry4-PR-Communication