การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรโดยการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร

Main Article Content

กันยากร บุญยงค์
ฟ้าใส สามารถ
รัชยา ภักดีจิตต์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรโดยการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร โดยเกริ่นนำถึงอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพกร กระบวนการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรโดยการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งหลักการดำเนินงานมี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการจัดเก็บภาษีอากร 2) วิธีการเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร 3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร 4) ประเภทการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 5) สาเหตุแห่งการตรวจสอบภาษีอากรโดยการออกหมายเรียก 6) ขอบเขตอำนาจในการออกหมายเรียก 7) การปฏิบัติเกี่ยวกับการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 8) รูปแบบการตรวจสอบภาษีอากร 9) การประเมินและสั่งเรียกเก็บภาษีอากร 10) การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี 11) การปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอย่างถูกต้อง และข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับมาตรการในการจัดเก็บภาษีอากร คือ 1) เพิ่มมาตรการจัดเก็บภาษีโดยสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ตรวจสอบและติดตามการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของผู้มีเงินได้อย่างเข้มข้นทั่วถึงและเป็นธรรม 2) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ลดจำนวนประชาชนที่หลีกเลี่ยงภาษี หรือต้องการที่จะเสียภาษีให้น้อยกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายจริง 3) โฆษณาประชาสัมพันธ์ในเรื่องการลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อให้ประชาชนทราบ และง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล เช่น การเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4) บังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมสรรพากร. (2481). ประมวลรัษฎากรฉบับอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 15 เมษายน 2566, จาก https://www.rd.go.th/74.html

กรมสรรพากร. (2555). หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษี. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.rd.go.th/812.html

กรมสรรพากร. (2559). การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.rd.go.th/813.html

กรมสรรพากร. (2563). แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากรประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2563-2565. กลุ่มวางแผนและประเมินผล. กองวิชาการแผนภาษี.

กรมสรรพากร. (2564). เอกสารประกอบการบรรยาย “ประเด็นความเสี่ยง จากการตรวจแนะนำด้านภาษีอากร”. กองมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.spaudit-consult.com/ content/46399/spauditing- content001

กรมสรรพากร. (2565). การประชุม/สัมมนา ผู้บริหารกรมสรรพากรทั่วราชอาณาจักร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.rd.go.th/26/2684.html

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. มาตรา 50. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 13 . 6 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566. จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?

nid=1038&filename=index

ทัศนีย์ เหลืองเรืองรอง. (2565). คู่มือศึกษาภาษีอากร ภาคบริหารธุรกิจ ตามประมวลรัษฎากร (พิมพ์ครั้งที่ 8). บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.

ธนภณ (เพริศพิบูลย์) แก้วสถิต. (2555). คำอธิบายภาษีเงินได้ระหว่างประเทศและหลักการทั่วไป ของอนุสัญญาภาษีซ้อน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท ชวนพิมพ์ 50 จำกัด.

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 271) (2559). กำหนดนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 174ง ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2559.

ไพจิตร โรจนาวนิช, ชุมพร เสนไสย และสาโรช ทองประคำ. (2561). ภาษีสรรพากร คำอธิบายประมวลรัษฎากร.กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล. (2556). กฎหมายภาษีอากร. กรุงเทพฯ: บริษัท ที.เค.เอส.สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.

สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2560). การกำกับดูแลสู่การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากร. สืบค้น 16 เมษายน 2566, จาก https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view= article&id=1301

สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2560). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 4 หลักและทฤษฎีภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/1568251896559114/

?locale=th_TH

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2539). พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=720250&ext=pdf