อิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ของการฝึกอบรมที่มีต่อความผูกพันในงาน ผ่านความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การและการรับรู้ความสามารถของตนเอง

Main Article Content

เพ็ญศิริ ศรีสมปอง
พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ของการฝึกอบรมที่มีต่อความผูกพันในงาน ผ่านความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอย ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการฝึกอบรมด้านตัวบุคคลและด้านอาชีพมีอิทธิพลต่อความผูกพันในงานโดยตรง รวมถึงสามารถได้รับการสนับสนุนผ่านการสร้างความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่จะส่งเสริมให้เกิดความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้ประโยชน์ของการฝึกอบรมด้านที่เกี่ยวข้องกับงานจำเป็นต้องมีการสร้างความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การให้กับพนักงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดความผูกพันในงาน หากองค์การต้องการเพิ่มระดับความผูกพันในงานของพนักงาน องค์การควรส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ของการฝึกอบรมทั้งด้านตัวบุคคลและด้านอาชีพ รวมถึงส่งเสริมความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การและการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ส่งผลต่อการเพิ่มความผูกพันในงาน ในขณะที่การรับรู้ประโยชน์ของการฝึกอบรมด้านที่เกี่ยวข้องกับงานจำเป็นต้องมีการสนับสนุนให้มีความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การเพื่อให้เกิดความผูกพันในงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐ์พัฒณ์ ฐีระเวช. (2563). แรงจูงใจกับความผูกพันในงานของข้าราชการ เรือนจํากลางคลองเปรม. สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

ตันหยง แก้วขวัญข้า. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นรชัย ณ วิเชียร. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลประจำหอผู้ป่วย

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 101-116.

บุณฑริกา นิลผาย. (2562). ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะงานกับความผูกพันในงาน กรณีศึกษา: บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พัชราภรณ์ โชติสูงเนิน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน การนับสนุน

ทางสังคมกับความตั้งใจอยู่ในองค์การของลูกจ้างชั่วคราว ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิชญา ทองโพธิ์ และกิ่งแก้ว อุดมชัยกูล. (2563). ผลของโปรแกรมอบรมการช่วยชีวิต ต่อความรู้ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการช่วยชีวิต และความสามารถในการกดหน้าอกของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 26(1), 107-121.

รพีพรรณ สมจิตรนึก (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและคุณลักษณะของงาน ต่อความผูกพันในงานและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทัตตา พานิชวัฒนะ. (2560). การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทรัพยากรในงาน และความผูกพันในงาน โดยมีความต้องการของงานที่ท้าทายเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาพร ตันสกุล. (2563). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันในงาน กรณีศึกษา : กรมส่งเสริมสหกรณ์ในเขตตรวจราชการที่ 5. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Aguinis, H. and Kraiger, K. (2009). Benefits of Training and Development for Individuals and Teams, Organizations, and Society. Annual Review of Psychology, 60, 451-474.

Ahmad, K. Z. and Bakar, R. A. (2003). The Association Between Training and Organizational Commitment Among Whitecollar Workers in Malaysia. International Journal of Training and Development, 7(3), 166-185.

Bakker, A. B. and Demerouti, E. (2007). The Job Demands-Resources Model: State of The Art. Journal of Managerial Psychology, 22(3), 309–328.

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84(2), 191-215.

Bandura, A. (2012). On the Functional Properties of Perceived Self-Efficacy Revisited. Journal of Management, 38(1), 9-44.

Chen, T. Y., Chang, P. L. and Yeh, C. W. (2004). A Study of Career Needs, Career Development Programs, job satisfaction and The Turnover Intentions of R&D Personnel. Career Development International, 9(4), 424-437.

Kim W. and Hyun Y. (2017). The Impact of Personal Resources on Turnover Intention: The Mediating Effects of Work Engagement. European Journal of Training and Development, 41(8), 705-721.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Noe, R. A. and Wilk, S. L. (1993). Investigation of The Factors That Influence Employees' Participation in Development Activities. Journal of Applied Psychology, 78(2), 291-302.

Nordhaug, O. (1989). Reward Functions of Personnel Training. Human Relations, 42(5), 373-388.

Parent-Lamarche, A. (2022). Teleworking, Work Engagement, and Intention To Quit During The COVID-19 pandemic: same storm, different boats?. International journal of environmental research and public health, 19(3), 1267.

Pierce, J. L. and Gardner, D. G. (1989). Self-Esteem and Self-Efficacy within the Organizational Context:

An Empirical Examination. Group & Organizational Management, 23(1), 48-70.

Pierce, J. L. and Gardner, D. G. (2004). Self-Esteem Within the Work and Organisational Context: A Review of the Organisation-Based Self-Esteem Literature. Journal of Management, 30(5), 591-622.

Sahinidis, A. G. and Bouris, J. (2011). The Motivational Effects of Employee Perceived Training Effectiveness. Archives of economic history, 22(2), 33-44.

Salanova, M., Llorens, S. and Schaufeli, W. B. (2011). Yes, I Can, I Feel Good, and I Just Do It! On Gain Cycles and Spirals of Efficacy Beliefs, Affect, and Engagement. Applied psychology: An international review, 60(2), 255-285.

Santos, A. and Stuart, M. (2003). Employee Perceptions And Their Influence on Training Effectiveness. Human Resource Management Journal, 13(1), 27-45.

Santos, S. A., Trevisan, L. N., Veloso, E. F. R. and Treff, M. A. (2021). Gamification in Trraining and Development Processes: Perception on Effectiveness and Results. Revista de Gest~ao, 28(2), 133-146.

Schaufeli, W. B., Salanova, M., González-Romá, V. and Bakker, A. B. (2002). The Measurement of Engagement and Burnout: A Two Sample Confirmatory Factor Analytic Approach. Journal of Happiness Studies: An Interdisciplinary Forum on Subjective Well-Being, 3(1), 71–92.

Schaufeli, W. B., Bakker, A. B. and Salanova, M. (2006). The Measurement of Work Engagement With a Short Questionnaire: A Cross-National Study. Educational and Psychological Measurement, 66(4), 701-716.

Schwarzer, R., and Jerusalem, M. (1995). Generalized Self-Efficacy Scale. In J. Weinman, S. Wright and M. Johnston. Measures in Health Psychology: A user’s portfolio. Causal and Control Beliefs (pp. 35-37). Windsor, UK: NFER-NELSON.

The Gallup Organization. (2022). State of The Global Workplace 2022 Report. D.C.: The Gallup Building.

Tian, G., Wang, J., Zhang, Z. and Wen, Y. (2019). Self-Efficacy and Work Performance: The Role of Work Engagement. Social Behavior and Personality: An International Journal, 47(12), 1-7.

Tran H., Phuong and Quỳnh, Đ. (2021). Training Perception and Work Engagement: The Mediating Role of Organisational-Based Self-Esteem and Self-Efficacy. Central European Business Review, 11(1), 19-40.

Yang, H., Sanders, K., and Bumatay, C. P. (2012). Linking Perceptions of Training With Organizational Commitment: The Moderating Role of Self-Construals. European Journal of Work and Organizational Psychology, 21(1), 125-149.