ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อการประเมินผลกระทบของธุรกิจโรงแรมและที่พักของผู้ประกอบการในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยส่งผ่านความได้เปรียบในการแข่งขัน

Main Article Content

วราดร จีรภัทรานันต์
ศักดิ์ชัย เศรษฐ์อนวัช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน และ 2) ศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการ และความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อการประเมินผลกระทบของธุรกิจโรงแรมและที่พักภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ใช้การวิจัยเชิงพรรณนา มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการ ผู้เป็นเจ้าของกิจการ และผู้บริหารหรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจที่ประกอบธุรกิจประเภทโรงแรมและที่พักขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 360 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์สถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ประกอบการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ซึ่งด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านความเป็นอิสระในการบริหารงาน ด้านการเผชิญความเสี่ยง ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านการทำงานเชิงรุก และด้านความสามารถในการแข่งขัน ตามลำดับ และมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบในการแข่งขันโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านการเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการประเมินผลกระทบของธุรกิจได้ร้อยละ 63.9 โดยคุณลักษณะผู้ประกอบการ และความได้เปรียบในการแข่งขัน มีอิทธิพลต่อการประเมินผลกระทบของธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา จันทรชิต, พิมพ์พาภรณ์ สุทธหลวง, ธัญลักษณ์ โกษาเสวียง และศุภชัย ธรรมสุปรีดิ์. (2022). การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวแล้วหรือยัง?. สืบค้น 21 เมษายน 2565, จาก http://www.fpojournal.com/thai-tourism-situation/

ข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์. (2563). ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบจาก COVID-19. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/290469

จันทิมา พรหมเกษ, จักเรศ เมตตะธำรงค์ และวรรณิดา สารีคำ. (2562). ผลกระทบของศักยภาพผู้ประกอบการสมัยใหม่และนวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. Suranaree Journal of Social Science, 13(2), 79-96.

ณภัทร ฟูเกียรติ. (2562). แรงขับเคลื่อนการแข่งขันที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐวุฒิ แสนขันติวิโรจน์ และสุมาลี รามนัฎ. (2021). อิทธิพลความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสามารถของผู้ ประกอบการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล. Journal of Politics, Administration and Law, 13(2), 253-268.

ภัทริกา ชิณช่าง. (2020). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน งานวิจัยเชิงประจักษ์ของธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย. Journal of Southern Technology, 13(1), 108-120.

มติชนออนไลน์. (2563). ท่องเที่ยวพัทยาวิกฤต ยอด นทท. เป็น 0% ยื่น 6 เรื่องด่วน “สนทยา คุณปลื้ม” ชงภาครัฐเยียวยาจริงจัง. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2099699

มัทนิน มณีขาว. (ผู้จัดรายการ). (2563). EEC Focus [รายการโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: TNN Online.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธ์ธร และสุรชัย อุดมอ่าง. (2554). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อ ความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจSMEs ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานวิจัย, หลักสูตรการจัดการคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

วรายุ ศิรินนท์ และระบิล พ้นภัย. (2020). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 242-252.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2542). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซแท็กซ์.

สำนักงานส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012232619.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). การสำรวจการประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮาส์ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ ฝ่ายวิจัยและประเมินผลส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนา. (2562). บรรยายสรุปเมืองพัทยา ปี 2562.

Andriyanto, I., Arifin, J., & Ayuningtyas, A. A. (2019). Antecedent Factors of Competitive Advantage and its Impact on Performance. Proceedings of the 1st International Conference on Economics, Management, Accounting and Business, ICEMAB 2018, 8-9 October 2018, Medan, North Sumatra, Indonesia. DOI: 10.4108/eai.8-10-2018.2288714.

Asemokha, A., Musona, J., Torkkeli, L., & Saarenketo, S. (2019). Business model innovation and entrepreneurial orientation relationships in SMEs: Implications for international performance. Journal of International Entrepreneurship, 17(3), 425-453.

Dess, G. G., Lumpkin, G. T., & Taylor, M. L. (2005). Strategic management: Creating competitive advantage (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Everitt, B. S., & Skrondal, A. (2010). The Cambridge dictionary of statistics. (4th ed). NY: Cambridge University Press.

Galbreath, J., Lucianetti, L., Thomas, B., & Tisch, D. (2020). Entrepreneurial orientation and firm performance in Italian firms: The moderating role of competitive strategy. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 26(4), 629-646. DOI: 10.1108/IJEBR-07-2019-0457.

Hair, J. F. Jr., Hult, G. T. M., Ringle, C. M. & Sarsted, M. (2014). A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). California: SAGE Publications

Hidayatullah, S., Firdiansjah, A., Patalo, R. G., & Waris, A. (2019). The effect of entrepreneurial marketing and competitive advantage on marketing performance. International Journal of Scientific and Technology Research, 8(10), 1297-1301.

Ibrahim and Mahmood (2016). Mediating role of competitive advantage on the relationship between entrepreneurial orientation and the performance of small and medium enterprises. International Business Management, 10(12), 2444-2452.

Kaplan & Norton. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California Management Review, 39(1), 53-79.

Kiyabo, K., & Isaga, N. (2020). Entrepreneurial orientation, competitive advantage, and SMEs’ performance: application of firm growth and personal wealth measures. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 9(1), 1-15.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control (9th ed.). NJ: Asimmon & Schuster.

Marketeeronline. (2022). จับตาไทยเที่ยวไทยยอดพุ่งครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีโต 161.7% สร้างรายได้ราว 7.2 แสนล้านบาท. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/268652

Qosasi, A., Maulina, E., Purnomo, M., Muftiadi, A., Permana, E., Febrian, F., 2019. The Impact of Information and Communication Technology Capability on the Competitive Advantage of Small Businesses. International Journal of Technology. 10(1), 167-177.

TerraBKK. (2561). พัทยาก้าวใหม่สู่เมืองหลวงตะวันออก. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.terrabkk.com/articles/

Utami, A. K., & Wilopo, S. (2018). Effect of Entrepreneurial Orientation toward Competitive Advantage and Business Performance. Russian Journal of Agricultural and Socio-Economic Sciences, 79(7), 140-149. DOI: https://doi.org/10.18551/rjoas.2018-07.15