การใช้หลักพละธรรมต่อการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 9
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักพละธรรมต่อการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 9 และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 9 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ จำนวน 92 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเคร็ซซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 8 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักพละธรรมต่อการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 9 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสติพละ ด้านสมาธิ ด้านศรัทธาพละ ด้านปัญญาพละ และ ด้านวิริยะพละ และแนวทางการนำหลักพละธรรมมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 9 ประกอบด้วย (1) ควรใช้สติเป็นเครื่องมือในการควบคุมความคิดและการกระทำเพื่อไม่ให้เกิดความประมาทในการปฏิบัติงาน (2) ควรมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้เต็มศักยภาพ (3) ควรมีความเชื่อในความเป็นวิชาชีพของวิชาชีพตำรวจเพื่อที่จะทำให้มีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด (4) ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ (5) ควรมีความเพียรพยายามในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายรวมถึงการพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักกฎหมายที่กำหนด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
จิรายุส จีนช้าง. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจนครบาลราษฎร์บูรณะ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ณรงค์ ภูเยี่ยมจิตร. (2563). ตำรวจกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน.วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 14-27.
ธันยพร กริชติทายาวุธ. (2565). ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมแบบบูรณาการพละ 5 และการคิดเชิงบวกที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและสุขภาวะทางจิตของกลุ่มสมาชิกสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย.วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 98-113.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ปรีชา นันตาภิวัฒน์ น.อ.(พิเศษ). (2544). พจนานุกรมหลักธรรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.
พระสมุห์บุญฤทธิ์ มหาปุญโญ (ศรีวิชัย). (2563). หลักธรรมพละ 5 (ศรัทธาพละ) กับการเกื้อหนุนการปฏิบัติพระกรรมฐาน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(21), 167-175.
ยงยุทธ แก้วเต็ม, ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์, ถาวร ล่อกา และกาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ. (2562).แนวคิดทางพระพุทธศาสนาพละ 5: การประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการ เรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 280-293.
สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2560). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มจร., 9(2), 65-77.
Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc-Graw Hill.