การใช้หลักอิทธิบาทธรรมต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ณัฐวุฒิ หนูวงศ์
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร
กันตภณ หนูทองแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช จำนวน 132 คน และ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นกลุ่มผู้บริหารเรือนจำระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้น รวมจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักอิทธิบาทธรรมต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมทุกด้าน ซึ่งมีค่าแปลผลโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านหลักวิริยะ และด้านจิตตะ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านหลักฉันทะ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ ด้านวิมังสา ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย (1) ควรให้ความรู้เกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้บุคลากรเพื่อสร้างความรักในงานและมีความเต็มใจที่จะทำงานให้บรรจุเป้าหมาย (2) ควรส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้และทำความเข้าใจในงานที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานนั้นด้วยความขยันหมั่นเพียร (3) ผู้บริหารควรเอาใจใส่ในการมอบหมายงานให้บุคลากรได้รับผิดชอบอย่างทั่วถึงและให้ความสำคัญกับการติดตามงาน (4) ควรส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานตามหลักการ องค์ความรู้และยึดถือความถูกต้องตามหลักวิชา (5) ควรมอบหมายงานตามความถนัดของบุคลากร และ (6) ผู้บริหารควรยกย่อง เชิดชูให้รางวัลกับงานที่บุคลากรทำสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2558). คู่มือการปฏิบัติงานด้านทัณฑปฏิบัติสำหรับเรือนจำและทัณฑสถาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมราชทัณฑ์.

กระทรวงยุติธรรม. (2560). ยุทธศาสตร์กรมคุมประพฤติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: กรมคุมประพฤติ.

เชาว์ ศรีอนันต์. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาทธรรมของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(2), 44-53.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พระมหาชุมพร อธิปุญโญ (ฝอยกลาง), ชาญชัย ฮวดศรี และปชาบดี แย้มสุนทร. (2565). การปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลตําบลโนนสูง อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2(2), 1-10.

พระมหาวีระชาติ โปธา. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 59-69.

ยศวรรธณ์ กระเกตุ, ประโยชน์ ส่งกลิ่น, และ นงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการราชทัณฑ์ในกลุ่มจังหวัด “ร้อยแก่นสารสินธุ์”. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(1), 148-149.

เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. (2565). เกี่ยวกับเรือนจำ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2565, จาก http://www.correct.go.th/copnaks/index.php

วรพันธ์ ทองหมัน. (2563). การนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการปราบปราม. วารสารปัญญา, 27(1), 88-101.

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: บริษัทประชุมช่าง จํากัด.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological, 25(140), 1-55.