การใช้หลักพละธรรมต่อการเสริมสร้างกำลังใจให้กับญาติผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดในเรือนจำกลางสงขลา

Main Article Content

ธวัชชัย ยืนยง
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้หลักพละธรรมต่อการเสริมสร้างกำลังใจให้กับญาติผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ คดียาเสพติดในเรือนจำกลางสงขลาและ 2) แนวทางการใช้หลักพละธรรมต่อการเสริมสร้างกำลังใจให้กับญาติผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ คดียาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ญาติผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ คดียาเสพติด จำนวน 278 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 10 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักพละธรรมต่อการเสริมสร้างกำลังใจให้กับญาติผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ คดียาเสพติดในเรือนจำกลางสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้  ด้านสติพละ ด้านวิริยะพละ ด้านศรัทธาพละ ด้านปัญญาพละ และด้านสมาธิพละ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการใช้หลักพละธรรมต่อการเสริมสร้างกำลังใจให้กับญาติผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดในเรือนจำกลางสงขลา ประกอบด้วย (1) หลักศรัทธาพละ ควรจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการรับโทษของผู้ต้องขังเพื่อให้ทุกคนเชื่อว่าคนทุกคนสามารถกลับมาเป็นคนดีได้ (2) หลักวิริยะพละ ควรจัดกิจกรรมการให้คำปรึกษาและการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ต้องขังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง (3) หลักสติพละ ควรจัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้และความรักระหว่างผู้ต้องขังและญาตินำสู่การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน (4) หลักสมาธิพละ ควรส่งเสริมให้มีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ ทัศนคติของผู้ต้องขัง รวมถึงการสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการฝึกวิชาชีพในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมให้กับผู้ต้องขัง และ (5) ด้านปัญญาพละ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ต้องขังพัฒนาตนเองให้มีความรู้โดยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2565). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2565. จาก http://www.correct.go.th/stathomepage.

จิรชาติ เชื้อภักดี. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นัทธี จิตสว่าง. (2547). หลักทัณฑวิทยา. นนทบุรี: มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์.

พณิณญา นาตาแสง. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสถานศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาวิวัฒน์ ปริชาโน พวกนิยม. (2551). การศึกษาขวัญกำลังใจและแนวทางการพัฒนาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มนัสวิน ศิริเวช. (2563). การพัฒนาบุคลากรของเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษธนบุรี ศึกษากรณี การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(1), 91-106.

เรือนจำกลางสงขลา. (2563). สถิติการเยี่ยมผู้ต้องขัง งานเยี่ยมญาติ ฝ่ายสวัสดิการผู้ต้องขัง. สืบค้น 20 ธันวาคม 2565. จาก https://www.facebook.com/sppssv.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2546). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2546. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological, 25(140), 1-55.