การใช้หลักปธานธรรมต่อการธำรงระเบียบวินัยผู้ต้องขัง เรือนจำกลางสงขลา

Main Article Content

สรศักดิ์ สุขนวล
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้หลักปธานธรรมต่อการธำรงระเบียบวินัยผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา และ 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักปธานธรรมต่อการธำรงระเบียบวินัยผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา จำนวน 346 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 10 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักปธานธรรมต่อการธำรงระเบียบวินัยผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลาโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านอนุรักขนาปธาน ด้านภาวนาปธาน ด้านปทานปธาน และด้านสังวรปธาน และ 2) แนวการใช้หลักปธานธรรมต่อการธำรงระเบียบวินัยผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา ประกอบด้วย (1) ควรป้องกันโดยวางระเบียบวินัยกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน (2) ควรพิจารณาความผิดตามหลักเหตุผลพร้อมกับให้โอกาสในการปรับปรุงและร่วมหาแนวทางในการแก้ไข (3) ควรจัดอบรมและชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆให้กับผู้ตัองขัง และ (4) ควรทบทวนและสร้างความตระหนักให้เห็นถึงประโยชน์ของการไม่กระทำผิดซ้ำให้กับผู้ต้องขังรับทราบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2565). ภารกิจกรมราชทัณฑ์. ค้นหาเมื่อ 30 ตุลาคม 2565,จาก http://www.correct.go.th/?page_id=9829

กระทรวงยุติธรรม. (2560). พระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

ชุติมาพัฒน์ เกียรติมนัส. (2560). การลงโทษทางวินัยผู้ต้องขังในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐดนัย ตระกูลรัมย์. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานและความเครียดในการทำงานของเจ้าพนักงานเรือนจำเรือนจำพิเศษธนบุรี. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(3), 66-76.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นพคุณ นําจิตรไทย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทําผิดวินัยของผู้ต้องขังชายเรือนจํากลางนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 97-110.

ปฐมพล ไกรยา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย : กรณีศึกษาเรือนจำกลางสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรือนจำกลางสงขลา. (2565). ข้อมูลทั่วไป. ค้นหาเมื่อ 30 ตุลาคม 2565, จาก http://www.correct.go.th/copsong

เสกสัณ เครือคำ, พิชัย เสนา และกัญญ์ฐิตา ศรีภา. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(2), 117-135.

Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc-Graw Hill.

Likert, R. A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological, 25(140), 1-55.