การใช้หลักโพชฌงค์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักโพชฌงค์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในพื้นที่ตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 333 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการผู้ใหญ่บ้าน และประธาน อสม. รวม 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและแบบปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักโพชฌงค์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านปีติ ด้านวิริยะ ด้านสมาธิ ด้านสติ ด้านอุเบกขา ด้านปัสสัทธิ และ ด้านธัมมวิจยะ 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักโพชฌงค์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย (1) ควรมีสติในการตัดสินใจเลือกโดยมีข้อมูลที่เพียงพอ (2) ควรมีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครก่อนตัดสินใจเลือก (3) ควรมีความมั่นคงแน่วแน่ในการตัดสินใจและปฏิบัติตนอย่างมีอุดมการณ์ (4) ควรส่งเสริม สนับสนุน ยอมรับและยกย่องผู้ที่ได้รับคัดเลือกมาเป็นตัวแทนอย่างจริงจังและจริงใจ (5) ควรมีการสงบจิตสงบใจและลดการปะทะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจ (6) ควรมีความมั่นคงและแน่วแน่ในการตัดสินใจเลือกปราศจากความหวั่นไหวหรือการยุยง หรือผลประโยชน์ใด ๆ และ (7) ควรวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียง และยอมรับการตัดสินใจของตนเองเพื่อผลประโยชน์โดยรวม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ขวัญหทัย แจ่มแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปาณิสรา นาจันทัด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). โพชภงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 108). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987).
ภาวิต บุญชละ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สติธร ธนานิธิโชติ และ ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. (2560). ระบบการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมือง : ทางเลือกและข้อเสนอเสนอแนะสำหรับประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(1), 6-34.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ : บริษัท เอส.อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม. (2564). ความเป็นหุ้นส่วนการบริหารการปกครองท้องถิ่น เพื่อการเสริมสร้างชุมชนแบบบูรณาการ. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 351-365.
อริสา เส็งคำปาน. (2560). การตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัญธิชา มั่นคง. (2558). ภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2(1), 906-100.
netelection. (2016). การเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไรบ้าง. สืบค้น 11 มกราคม 2566, จาก https://www.netelection.org