การป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อเสนอแนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชจำนวน 222 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 5 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสังคมวิทยามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ด้านจิตวิทยา มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับน้อย และ ด้านชีววิทยา ค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับน้อย และ 2) แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ได้แก่ (1) การส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมให้ผู้ต้องขังให้มีทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต (2) รัฐควรมีการจัดหางาน หรืออาชีพให้กับผู้ต้องขังที่พ้นโทษ (3) สนับสนุนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นให้กับผู้ต้องขัง (4) เสริมสร้างและส่งเสริมให้สังคมภายนอกให้การยอมรับ (5) ครอบครัวต้องมีความเข้าใจ และให้โอกาส (6) มีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาในปัญหาชีวิตได้ (7) มีการจัดกิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ และสร้างแรงบันดาลใจ และ (8) มีการติดตามผู้กระทำผิดซ้ำไม่ให้กลับไปกระทำความผิดอีก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมราชทัณฑ์. (2565). การเฝ้าระวังผู้ต้องขังคดียาเสพติดมิให้กระทำผิดซ้ำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.
ชวลิต กลิ่นแข, เกชา ใจดี, ณฐวรรธน์ เสมียนเพชร, สุพัตรา สมวงศ์ และทิพวรรณ์ สุวรรณโน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทําผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจําของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(3), 253-261.
นคพัฒน์ สินเย็น. (2564). การกระทําความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจําจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(1), 46-58.
นัทธี จิตสว่าง. (2565). หลักทัณฑวิทยา : หลักการวิเคราะห์ระบบงานราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์.
นุชนาฏ มุกุระ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทําผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจํากลางเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2553). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ : เวิลด์เทรด ประเทศไทย
ภานุวัฒน์ มีเพียร และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2564). ปัจจัยที่ทําให้มีการกระทําผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุดรธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 17-32.
สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2555). GEPS 123 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: ราชภัฎพิบูลสงคราม.
สัตถา ดาเวียงและ พิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2565). การกระทําผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจําอําเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 78-89.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc-Graw Hill.
Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological, 25(140), 1-55.